เติมฝัน ปันสุข

นายธีรวุฒิ คำอ่อน (คุณวุด)

นายธีรวุฒิ คำอ่อน (คุณวุด)
ศิลปินภาพพิมพ์แกะไม้ / เจ้าของ Goodwood Printmaking Studio
และ อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ผู้ถ่ายทอดความงดงามของอารมณ์ผ่านศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้
เจ้าของรางวัลยอดเยี่ยม สาขาศิลปะ 2 มิติ
โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย โดย มูลนิธิเอสซีจี ประจำปี 2017

ศิลปะมันเป็นอาชีพได้
ถ้าเรามองสิ่งรอบๆ ตัวเราให้เป็นศิลปะ
แล้วนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดอาชีพ

นายธีรวุฒิ คำอ่อน (คุณวุด)

          ในชีวิตคนเรานั้น ย่อมมีโอกาสพบจุดเปลี่ยนแปลงในชีวิต อยู่ที่ว่า ในแต่ละช่วงชีวิตของคน จะเจอจุดเปลี่ยนตอนไหน เช่นเดียวกับคุณวุด หรือ คุณธีรวุฒิ คำอ่อน ศิลปินภาพพิมพ์แกะไม้ที่แม้เส้นทางการใช้ชีวิตของเขา
จะแน่วแน่แล้วว่าจะเลือกทางเดินแห่งศิลปะ แต่มันก็ยังมีจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่เขาได้ค้นพบว่า แท้จริงแล้ว เขาเองรัก
และหลงใหลการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้ (WOOD-CUT) มากที่สุด

          จุดเริ่มต้นในการค้นพบสิ่งที่รักและเป็นตัวเองในแบบที่ใช่ คือ การเรียนศิลปะ
อาจเป็นความโชคดีที่คุณวุด รู้ตัวเองแน่ชัดตั้งแต่วัยเด็กสมัยเรียนประถมแล้วว่าวิชาที่สามารถนั่งเรียนนาน ๆ ได้
โดยไม่เบื่อและมีความสุข อีกทั้งยังเป็นวิชาที่ทำให้เขามีสมาธิ จดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่ได้ดียิ่งขึ้น นั่นคือ วิชาศิลปะ
เมื่อระยะเวลาผ่านไป เส้นทางการเรียนของเขายังคงชัดเจน แน่วแน่ ไม่แปรเปลี่ยน เขาสนุกกับการวาดภาพมาตลอด จึงตัดสินใจเลือกเรียนต่อด้านศิลปะในระดับมหาวิทยาลัย และสอบติดที่ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทว่า การเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัยนี่เอง ที่ทำให้เขาได้มุมมองใหม่ ๆ ต่างจากตอนเรียนช่วงวัยเด็กที่เรียนรู้ตามวัย ไม่ได้รู้ศิลปะเชิงทฤษฎีอย่างลึกซึ้ง ช่วงนี้เองที่ทำให้คุณวุดค้นพบศิลปะแขนงอื่นด้วย นั่นคือ ศิลปะภาพพิมพ์ เมื่อเห็นเสน่ห์ของศาสตร์นี้ เขาจึงย้ายจากสาขาจิตรกรรมสู่สาขาภาพพิมพ์และมันได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนให้ชีวิตเขาด้วย“แท้จริงแล้ว ภาพพิมพ์ ถูกซ่อนอยู่ในชีวิตประจำวันเรามาตลอด แต่เรามักไม่สังเกต หรือ มองข้ามโดยไม่รู้ตัว อย่างการ
นำลายนิ้วมือตัวเองไปปั๊มลงบนกระดาษ นั่นก็เรียกว่า ภาพพิมพ์ ฉะนั้น มันเป็นเรื่องสำคัญ ที่เราไม่ควรมองข้าม
สิ่งรอบตัว”

          ‘ศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้’ เปลี่ยนเขาให้เป็นคนมีวินัยและมีแบบแผนมากขึ้น
คุณวุดเล่าถึงเส้นทางการเป็นศิลปินภาพพิมพ์แกะไม้ว่า เขาเห็นเสน่ห์ของศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้ (WOOD-CUT)
เพราะกว่าจะได้มา 1 ชิ้นงาน ต้องใช้เวลาและมีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน มีกระบวนการและเทคนิคที่ซับซ้อน
ตั้งแต่ การเตรียมกระดาษ ขูด, แกะแผ่นไม้ให้เป็นรูปร่าง เพื่อทำแม่พิมพ์ไม้แกะสลักขึ้นมา 1 ชิ้น และระหว่างแกะลายไม้ การพิมพ์ลงกระดาษ ก็ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ เช่น ดูอุณหภูมิ ความชื้น ด้วย“ผมมองว่าความยุ่งยาก ซับซ้อน
นี่แหละ คือ เสน่ห์ เพราะมันได้สอนให้ผมต้องประณีต พิถีพิถัน นอกจากนี้ ยังได้หล่อหลอมให้ผมเป็นคนมีวินัย
และเป็นคนมีระเบียบ แบบแผนมากขึ้น”

          เอกลักษณ์ของผลงาน คือ ผู้เสพงานศิลป์เกิดการตั้งคำถาม ว่าใช้ภาพพิมพ์จริงหรือไม่?”สำหรับผลงาน
ของผมจะมีเอกลักษณ์ตรงที่ไม่ใช้โทนสีสดใส หรือ โทนสีหนักแน่นมาก โทนสีของงานผมจะเป็นโทนสีเทาที่นุ่มนวล และขณะเดียวกันนั้น ผมตั้งใจสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์แกะไม้ให้ดูไม่ออกว่าใช้เทคนิคนี้ เพื่อให้ผู้เสพผลงานศิลปะได้เกิดการตั้งคำถามว่า ผลงานชิ้นนี้เป็นเทคนิคภาพถ่าย? หรือ ภาพวาด? แต่พอเขาก้มลงมองเทคนิคการพิมพ์
ที่ลงนามกำกับในผลงาน ว่าเป็น เทคนิค WOOD-CUT เขาจะรู้สึกทึ่งครับ”

          เปลี่ยนแนวคิดนามธรรมให้เป็นศิลปะจับต้องได้
“สำหรับผลงานภาพพิมพ์แกะไม้ของผม มี 2 แนวคิดหลัก ๆ ด้วยกัน คือ งานที่สร้างสรรค์เกี่ยวกับวัฒนธรรม
อย่างเช่น การมองโบราณสถาน และโบราณวัตถุที่กำลังบูรณะซ่อมแซม ผ่านผ้าสแลน พร้อมเกิดการตั้งคำถามว่า หลังจากซ่อมแซมเสร็จแล้วจะเป็นอย่างไร สิ่งที่เราเห็นอยู่นั้นจะปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงให้แย่ลง เหมือนเรามองมันอย่างมีความหวัง และต่อมาคือ แนวคิดเรื่องครอบครัว ที่ผมจะสร้างผลงานเป็นภาพคุณพ่อและคุณแม่ที่เสียชีวิตไปแล้ว ให้ความรู้สึกอบอวลอยู่ในความคิดถึง ระลึก โหยหา ทั้ง 2 ชุดแม้คอนเซ็ปต์ต่างกัน แต่มีจุดเชื่อมโยง
ถึงกัน คือเรื่อง อารมณ์และความรู้สึก ฉะนั้น ผลงานที่ถ่ายทอดออกมาจึงผ่านโทนสีเทาเบาบาง สลัว เลือนราง เหมือนให้ภาพสื่อออกมาว่า อยู่ในห้วงขณะของความรู้สึก”

          เวทีประกวดงานศิลปะ เวทีแห่งการเรียนรู้ตัวเอง เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพไปอีกขั้น
“ผมชอบพัฒนาและท้าทายศักยภาพตัวเองจึงเข้าร่วมโครงการประกวด อย่างเช่น โครงการ ยุวศิลปินไทยในปี 2017 ผมเห็นว่าเป็นโครงการประกวดศิลปะสำหรับเยาวชนที่เป็นเวทีใหญ่ระดับหนึ่งเลย และมีเงินรางวัลที่สูงพอสมควร
แต่เหตุผลที่ทำให้ผมสนใจและดึงดูดให้ส่งประกวดผลงาน คือ การได้ไปทัศนศึกษาที่ต่างประเทศครับ
          อันที่จริง ผมส่งผลงานเข้าประกวดตั้งแต่ปี 2016 แต่ไม่ได้รับรางวัล พอมา ปี 2017 ก็ไม่ละทิ้งความพยายาม ลองส่งอีกครั้ง และได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในสาขาศิลปะ 2 มิติ ซึ่งเป็นรางวัลแรกในชีวิตและถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นให้
ผมได้เห็นมุมมองใหม่และเปิดประสบการณ์ในการได้ไปทัศนศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศสตามความใฝ่ฝัน ซึ่งมันก็เป็นเรื่องบังเอิญตรงที่ปีที่ผมได้ไปทัศนศึกษา ผมได้เห็นผลงานของ Katsushika Hokusai (คัทซึชิคะ โฮะคุไซ) ศิลปินภาพพิมพ์แกะไม้ ระดับบรมครูแห่งยุคเอโดะ ผมก็เลยนำเขามาเป็นแรงบันดาลในใจในการพัฒนาผลงานตัวเองให้ดี
มากขึ้นด้วย”
          ตั้งแต่นั้นมา เมื่อคุณวุดมีโอกาส เขาก็จะส่งผลงานไปประกวดหลากหลายโครงการทั้งในและต่างประเทศ
แต่อีกหนึ่งผลงานที่ประทับใจ คือ การเข้าร่วมประกวด Guanlan International Printmaking Biennial China 2019 ที่ประเทศจีน ซึ่งเป็นอีกรายการประกวดที่ใหญ่ระดับโลก โดยผู้จัดจะคัดเลือกผลงานจาก 4,000 กว่าชิ้นงาน
ให้เหลือเพียง 10 ผลงาน ซึ่งคุณวุดก็ได้รางวัลที่ 1 จากโครงการนี้ด้วย
          แม้ว่าคุณวุดจะผ่านมาหลายเวทีการประกวด แต่ก็มีไม่ได้รางวัลเช่นกัน ซึ่งเขาก็ไม่เครียด หรือ กดดันตัวเองเกินไป เพราะเขามองว่า เวทีเหล่านี้ เป็นเวทีที่ทำให้เขาได้ศึกษาและท้าทายศักยภาพตัวเองไปอีกขั้น
          “ผมมองว่าการประกวดไม่ใช่จุดสิ้นสุดของชีวิต หากไม่ได้รางวัล ผมก็แค่ทำงานตัวเองต่อไป ขณะเดียวกัน ผมจะวิเคราะห์ผลงานของผู้ที่ได้รางวัลด้วยว่าทำไมเขาถึงได้ เพื่อทำให้รู้จุดบกพร่องของตัวเองแล้วนำมาพัฒนา
ให้ดีขึ้น ฉะนั้น เวลาที่มีน้อง ๆ ที่ผมรู้จักส่งผลงานเข้าประกวดแล้วเครียดเพราะชวดรางวัล ผมมักจะบอกเสมอว่า
ถ้าได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่ต้องซีเรียส ให้มองเป็นการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผลงานตัวเอง และประสบการณ์ในชีวิตดีกว่า”

          ในชีวิตคนเรานั้น ย่อมมีโอกาสพบจุดเปลี่ยนแปลงในชีวิต อยู่ที่ว่า ในแต่ละช่วงชีวิตของคน จะเจอจุดเปลี่ยนตอนไหน เช่นเดียวกับคุณวุด หรือ คุณธีรวุฒิ คำอ่อน ศิลปินภาพพิมพ์แกะไม้ที่แม้เส้นทางการใช้ชีวิตของเขาจะแน่วแน่แล้วว่าจะเลือกทางเดินแห่งศิลปะ แต่มันก็ยังมีจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่เขาได้ค้นพบว่า แท้จริงแล้ว เขาเองรักและหลงใหลการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้ (WOOD-CUT) มากที่สุด

          จุดเริ่มต้นในการค้นพบสิ่งที่รักและเป็นตัวเองในแบบที่ใช่ คือ การเรียนศิลปะ
อาจเป็นความโชคดีที่คุณวุด รู้ตัวเองแน่ชัดตั้งแต่วัยเด็กสมัยเรียนประถมแล้วว่าวิชาที่สามารถนั่งเรียนนาน ๆ ได้ โดยไม่เบื่อและมีความสุข อีกทั้งยังเป็นวิชาที่ทำให้เขามีสมาธิ จดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่ได้ดียิ่งขึ้น นั่นคือ วิชาศิลปะ เมื่อระยะเวลาผ่านไป เส้นทางการเรียนของเขายังคงชัดเจน แน่วแน่ ไม่แปรเปลี่ยน เขาสนุกกับการวาดภาพมาตลอด จึงตัดสินใจเลือกเรียนต่อด้านศิลปะในระดับมหาวิทยาลัย และสอบติดที่ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทว่า การเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัยนี่เอง ที่ทำให้เขาได้มุมมองใหม่ ๆ ต่างจากตอนเรียนช่วงวัยเด็กที่เรียนรู้ตามวัย ไม่ได้รู้ศิลปะเชิงทฤษฎีอย่างลึกซึ้ง ช่วงนี้เองที่ทำให้คุณวุดค้นพบศิลปะแขนงอื่นด้วย นั่นคือ ศิลปะภาพพิมพ์ เมื่อเห็นเสน่ห์ของศาสตร์นี้ เขาจึงย้ายจากสาขาจิตรกรรมสู่สาขาภาพพิมพ์และมันได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนให้ชีวิตเขาด้วย“แท้จริงแล้ว ภาพพิมพ์ ถูกซ่อนอยู่ในชีวิตประจำวันเรามาตลอด แต่เรามักไม่สังเกต หรือ มองข้ามโดยไม่รู้ตัว อย่างการ นำลายนิ้วมือตัวเองไปปั๊มลงบนกระดาษ นั่นก็เรียกว่า ภาพพิมพ์ ฉะนั้น มันเป็นเรื่องสำคัญ ที่เราไม่ควรมองข้ามสิ่งรอบตัว”

          ‘ศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้’ เปลี่ยนเขาให้เป็นคนมีวินัยและมีแบบแผนมากขึ้น
คุณวุดเล่าถึงเส้นทางการเป็นศิลปินภาพพิมพ์แกะไม้ว่า เขาเห็นเสน่ห์ของศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้ (WOOD-CUT) เพราะกว่าจะได้มา 1 ชิ้นงาน ต้องใช้เวลาและมีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน มีกระบวนการและเทคนิคที่ซับซ้อน ตั้งแต่ การเตรียมกระดาษ ขูด, แกะแผ่นไม้ให้เป็นรูปร่าง เพื่อทำแม่พิมพ์ไม้แกะสลักขึ้นมา 1 ชิ้น และระหว่างแกะลายไม้ การพิมพ์ลงกระดาษ ก็ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ เช่น ดูอุณหภูมิ ความชื้น ด้วย“ผมมองว่าความยุ่งยาก ซับซ้อนนี่แหละ คือ เสน่ห์ เพราะมันได้สอนให้ผมต้องประณีต พิถีพิถัน นอกจากนี้ ยังได้หล่อหลอมให้ผมเป็นคนมีวินัย และเป็นคนมีระเบียบ แบบแผนมากขึ้น”

          เอกลักษณ์ของผลงาน คือ ผู้เสพงานศิลป์เกิดการตั้งคำถาม ว่าใช้ภาพพิมพ์จริงหรือไม่?”สำหรับผลงานของผมจะมีเอกลักษณ์ตรงที่ไม่ใช้โทนสีสดใส หรือ โทนสีหนักแน่นมาก โทนสีของงานผมจะเป็นโทนสีเทาที่นุ่มนวล และขณะเดียวกันนั้น ผมตั้งใจสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์แกะไม้ให้ดูไม่ออกว่าใช้เทคนิคนี้ เพื่อให้ผู้เสพผลงานศิลปะได้เกิดการตั้งคำถามว่า ผลงานชิ้นนี้เป็นเทคนิคภาพถ่าย? หรือ ภาพวาด? แต่พอเขาก้มลงมองเทคนิคการพิมพ์ที่ลงนามกำกับในผลงาน ว่าเป็น เทคนิค WOOD-CUT เขาจะรู้สึกทึ่งครับ”

          เปลี่ยนแนวคิดนามธรรมให้เป็นศิลปะจับต้องได้
“สำหรับผลงานภาพพิมพ์แกะไม้ของผม มี 2 แนวคิดหลัก ๆ ด้วยกัน คือ งานที่สร้างสรรค์เกี่ยวกับวัฒนธรรม อย่างเช่น การมองโบราณสถาน และโบราณวัตถุที่กำลังบูรณะซ่อมแซม ผ่านผ้าสแลน พร้อมเกิดการตั้งคำถามว่า หลังจากซ่อมแซมเสร็จแล้วจะเป็นอย่างไร สิ่งที่เราเห็นอยู่นั้นจะปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงให้แย่ลง เหมือนเรามองมันอย่างมีความหวัง และต่อมาคือ แนวคิดเรื่องครอบครัว ที่ผมจะสร้างผลงานเป็นภาพคุณพ่อและคุณแม่ที่เสียชีวิตไปแล้ว ให้ความรู้สึกอบอวลอยู่ในความคิดถึง ระลึก โหยหา ทั้ง 2 ชุดแม้คอนเซ็ปต์ต่างกัน แต่มีจุดเชื่อมโยงถึงกัน คือเรื่อง อารมณ์และความรู้สึก ฉะนั้น ผลงานที่ถ่ายทอดออกมาจึงผ่านโทนสีเทาเบาบาง สลัว เลือนราง เหมือนให้ภาพสื่อออกมาว่า อยู่ในห้วงขณะของความรู้สึก”

          เวทีประกวดงานศิลปะ เวทีแห่งการเรียนรู้ตัวเอง เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพไปอีกขั้น
“ผมชอบพัฒนาและท้าทายศักยภาพตัวเองจึงเข้าร่วมโครงการประกวด อย่างเช่น โครงการ ยุวศิลปินไทยในปี 2017 ผมเห็นว่าเป็นโครงการประกวดศิลปะสำหรับเยาวชนที่เป็นเวทีใหญ่ระดับหนึ่งเลย และมีเงินรางวัลที่สูงพอสมควร แต่เหตุผลที่ทำให้ผมสนใจและดึงดูดให้ส่งประกวดผลงาน คือ การได้ไปทัศนศึกษาที่ต่างประเทศครับ
          อันที่จริง ผมส่งผลงานเข้าประกวดตั้งแต่ปี 2016 แต่ไม่ได้รับรางวัล พอมา ปี 2017 ก็ไม่ละทิ้งความพยายาม ลองส่งอีกครั้ง และได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในสาขาศิลปะ 2 มิติ ซึ่งเป็นรางวัลแรกในชีวิตและถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นให้ผมได้เห็นมุมมองใหม่และเปิดประสบการณ์ในการได้ไปทัศนศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศสตามความใฝ่ฝัน ซึ่งมันก็เป็นเรื่องบังเอิญตรงที่ปีที่ผมได้ไปทัศนศึกษา ผมได้เห็นผลงานของ Katsushika Hokusai (คัทซึชิคะ โฮะคุไซ) ศิลปินภาพพิมพ์แกะไม้ ระดับบรมครูแห่งยุคเอโดะ ผมก็เลยนำเขามาเป็นแรงบันดาลในใจในการพัฒนาผลงานตัวเองให้ดีมากขึ้นด้วย”
          ตั้งแต่นั้นมา เมื่อคุณวุดมีโอกาส เขาก็จะส่งผลงานไปประกวดหลากหลายโครงการทั้งในและต่างประเทศ แต่อีกหนึ่งผลงานที่ประทับใจ คือ การเข้าร่วมประกวด Guanlan International Printmaking Biennial China 2019 ที่ประเทศจีน ซึ่งเป็นอีกรายการประกวดที่ใหญ่ระดับโลก โดยผู้จัดจะคัดเลือกผลงานจาก 4,000 กว่าชิ้นงาน ให้เหลือเพียง 10 ผลงาน ซึ่งคุณวุดก็ได้รางวัลที่ 1 จากโครงการนี้ด้วย
          แม้ว่าคุณวุดจะผ่านมาหลายเวทีการประกวด แต่ก็มีไม่ได้รางวัลเช่นกัน ซึ่งเขาก็ไม่เครียด หรือ กดดันตัวเองเกินไป เพราะเขามองว่า เวทีเหล่านี้ เป็นเวทีที่ทำให้เขาได้ศึกษาและท้าทายศักยภาพตัวเองไปอีกขั้น
          “ผมมองว่าการประกวดไม่ใช่จุดสิ้นสุดของชีวิต หากไม่ได้รางวัล ผมก็แค่ทำงานตัวเองต่อไป ขณะเดียวกัน ผมจะวิเคราะห์ผลงานของผู้ที่ได้รางวัลด้วยว่าทำไมเขาถึงได้ เพื่อทำให้รู้จุดบกพร่องของตัวเองแล้วนำมาพัฒนาให้ดีขึ้น ฉะนั้น เวลาที่มีน้อง ๆ ที่ผมรู้จักส่งผลงานเข้าประกวดแล้วเครียดเพราะชวดรางวัล ผมมักจะบอกเสมอว่า ถ้าได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่ต้องซีเรียส ให้มองเป็นการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผลงานตัวเอง และประสบการณ์ในชีวิตดีกว่า”

เมื่อหมดแรงบันดาลใจใช้ศิลปะและธรรมชาติบำบัด
การทำงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ สักวันย่อมมีโอกาสถึงทางตัน คุณวุดก็เคยเป็นเช่นเดียวกัน หากวันใด หมดแรงบันดาลใจ เขาจะหาทางออกด้วย 2 วิธี คือ
ใช้ศิลปะบำบัด อยากวาดอะไรก็วาดโดยไม่ต้องสนแนวคิดที่มา ไม่ยึดว่างานต้องมีคอนเซ็ปท์เลิศหรู ประกอบกับ การไปตั้งแคมป์ เดินป่ากับเพื่อน ๆ แล้วปล่อยให้ธรรมชาติบำบัด
“เวลาผมไปเที่ยวธรรมชาติ ก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะต้องได้แรงบันดาลใจกลับมาเสมอไป ผมคิดว่า แค่ออกมาจากที่เดิม ๆ ที่เคยอยู่ ได้เดินทางเจอธรรมชาติ อย่างน้อย
มันก็ได้ปลดปล่อยความเครียดหรือทิ้งสิ่งที่ติดอยู่ในหัวออกไปแค่นี้ก็ช่วยได้มากแล้วครับ”

ผ่านสถานการณ์ยากลำบากด้วยนิสัยวางแผน
“หากเจอสถานการณ์ยากลำบาก ผมจะแก้ปัญหาด้วยการวางแผน และคิดหลายขั้นตอน อย่างเช่น ช่วงสถานการณ์โควิด -19 ที่ผ่านมา ผมรู้แล้วว่า เหตุการณ์นี้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจระดับประเทศ ผมก็ต้องเตรียมตัวล่วงหน้า เริ่มอดออม แล้วก็ประหยัด จึงทำให้ในช่วงที่ขายผลงานไม่ได้ ผมไม่ได้เครียด เพราะผมมีเงินออม หรือ เงินทุนสำรองเพียงพออยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นในแง่ของจิตใจ โชคดีหน่อยที่ ผมไม่ใช่คนคิดมาก และเป็นคนปล่อยวางความเครียดได้ง่าย หรือ มีปัญหาก็เจอทางแก้ได้เร็ว อย่างถ้าผมรู้ตัวเองว่า
เริ่มเครียด กังวล ผมจะไม่ย้ำคิดย้ำทำ หรือ นั่งอยู่นิ่ง ๆ แต่ผมจะเลือกออกไปทำกิจกรรมเอาท์ดอร์ที่ช่วยสร้างความผ่อนคลาย หรือ ออกไปอยู่กับเพื่อนๆ”

ดำรงชีวิตอยู่ด้วย‘ศิลปะ’
ในปัจจุบันคุณวุดทำงานถึง3อาชีพด้วยกันแต่ทั้งหมดนั้นล้วนใช้ศิลปะหล่อเลี้ยงชีวิตตัวเองไม่ว่าจะเป็น ศิลปินภาพพิมพ์แกะไม้ , เจ้าของ Goodwood Printmaking Studio
ที่เปิดสตูดิโอรับสร้างสรรค์ผลงาน และถอดแบบร่างสเก็ตซ์จากศิลปินท่านอื่น ๆ เพื่อแปลงมาเป็นศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้และอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยศรีปทุม อย่างไรก็ตาม หากท่านใดอยากร่วมเป็นกำลังใจให้ศิลปินไทย สามารถชื่มชมผลงานของคุณวุดได้ที่นิทรรศการการแสดงเดี่ยวภายใต้ชื่อ ‘Update or Change?’ ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง
ซึ่งเป็นการรวบรวมผลงานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในชุด ‘โบราณสถาน’ ที่ทุกคนจะได้เห็นพัฒนาการจากศิลปินท่านนี้จัดขึ้นวันที่ 5 – 30 ตุลาคม 2565 ที่ People’s Gallery
ชั้น 2 ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร (BACC)

เมื่อหมดแรงบันดาลใจใช้ศิลปะและธรรมชาติบำบัด
การทำงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ สักวันย่อมมีโอกาสถึงทางตัน คุณวุดก็เคยเป็นเช่นเดียวกัน หากวันใด หมดแรงบันดาลใจ เขาจะหาทางออกด้วย 2 วิธี คือ ใช้ศิลปะบำบัด อยากวาดอะไรก็วาดโดยไม่ต้องสนแนวคิดที่มา ไม่ยึดว่างานต้องมีคอนเซ็ปท์เลิศหรู ประกอบกับ การไปตั้งแคมป์ เดินป่ากับเพื่อน ๆ แล้วปล่อยให้ธรรมชาติบำบัด
“เวลาผมไปเที่ยวธรรมชาติ ก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะต้องได้แรงบันดาลใจกลับมาเสมอไป ผมคิดว่า แค่ออกมาจากที่เดิม ๆ ที่เคยอยู่ ได้เดินทางเจอธรรมชาติ อย่างน้อย มันก็ได้ปลดปล่อยความเครียดหรือทิ้งสิ่งที่ติดอยู่ในหัวออกไปแค่นี้ก็ช่วยได้มากแล้วครับ”

ผ่านสถานการณ์ยากลำบากด้วยนิสัยวางแผน
“หากเจอสถานการณ์ยากลำบาก ผมจะแก้ปัญหาด้วยการวางแผน และคิดหลายขั้นตอน อย่างเช่น ช่วงสถานการณ์โควิด -19 ที่ผ่านมา ผมรู้แล้วว่า เหตุการณ์นี้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจระดับประเทศ ผมก็ต้องเตรียมตัวล่วงหน้า เริ่มอดออม แล้วก็ประหยัด จึงทำให้ในช่วงที่ขายผลงานไม่ได้ ผมไม่ได้เครียด เพราะผมมีเงินออม หรือ เงินทุนสำรองเพียงพออยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นในแง่ของจิตใจ โชคดีหน่อยที่ ผมไม่ใช่คนคิดมาก และเป็นคนปล่อยวางความเครียดได้ง่าย หรือ มีปัญหาก็เจอทางแก้ได้เร็ว อย่างถ้าผมรู้ตัวเองว่า เริ่มเครียด กังวล ผมจะไม่ย้ำคิดย้ำทำ หรือ นั่งอยู่นิ่ง ๆ แต่ผมจะเลือกออกไปทำกิจกรรมเอาท์ดอร์ที่ช่วยสร้างความผ่อนคลาย หรือ ออกไปอยู่กับเพื่อนๆ”

ดำรงชีวิตอยู่ด้วย‘ศิลปะ’
ในปัจจุบันคุณวุดทำงานถึง3อาชีพด้วยกันแต่ทั้งหมดนั้นล้วนใช้ศิลปะหล่อเลี้ยงชีวิตตัวเองไม่ว่าจะเป็น ศิลปินภาพพิมพ์แกะไม้ , เจ้าของ Goodwood Printmaking Studio ที่เปิดสตูดิโอรับสร้างสรรค์ผลงาน และถอดแบบร่างสเก็ตซ์จากศิลปินท่านอื่น ๆ เพื่อแปลงมาเป็นศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้และอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยศรีปทุม อย่างไรก็ตาม หากท่านใดอยากร่วมเป็นกำลังใจให้ศิลปินไทย สามารถชื่มชมผลงานของคุณวุดได้ที่นิทรรศการการแสดงเดี่ยวภายใต้ชื่อ ‘Update or Change?’ ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นการรวบรวมผลงานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในชุด ‘โบราณสถาน’ ที่ทุกคนจะได้เห็นพัฒนาการจากศิลปินท่านนี้จัดขึ้นวันที่ 5 – 30 ตุลาคม 2565 ที่ People’s Gallery ชั้น 2 ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร (BACC)