เติมฝัน ปันสุข

นายธรรมรัฐ มูลสาร (เอิร์ธ)

เจ้าของโรงตีมีด คนรุ่นใหม่ที่ต้องการสืบสานต่อยอด
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและพึ่งพาตัวเอง อยู่รอดได้ในชุมชน
ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 6 โดยมูลนิธิเอสซีจี

จากเด็กวัยรุ่นที่ตระหนักรู้ว่าตัวเองเรียนไม่เก่ง จึงมุ่งหาคำตอบและทางรอดของชีวิตเพื่ออนาคตของตนเอง
จนสุดท้าย น้องเอิร์ธ ธรรมรัฐ มูลสาร ได้พบโอกาสและเริ่มต้นธุรกิจด้วยวัยเพียง 21 ปี
กับการสร้างโรงตีมีดในพื้นที่บ้านเกิดที่จังหวัดขอนแก่น

นายธรรมรัฐ มูลสาร (เอิร์ธ)

          มนุษย์เราทุกคนล้วนอยากมีความสุข ความสุขเมื่อรู้ว่าชีวิตต้องการอะไร ชอบอะไร แต่หลายคนกลับยังไม่รู้ว่าความสุขของตัวเองคืออะไร ดังนั้นการตระหนักถึงความสุข และการมีอยู่ของมันในจิตใจที่เรียกว่า Self-awareness
หากใครค้นพบหรือตระหนักรู้ตัวเองได้เร็วก็ย่อมมีโอกาสสร้างเส้นทางแห่งอนาคตของตนเองได้ชัดเจนได้ไวมากขึ้น เหมือนเรื่องราวของนายธรรมรัฐ มูลสาร หรือ น้องเอิร์ธ ที่รู้จักตัวเองได้ไว ว่าแท้จริงแล้ว เราต้องการอะไร? จึงสามารถพัฒนาจุดเด่นของตัวเอง จนสร้างธุรกิจส่วนตัวด้วยการทำมีดแฮนด์เมด ได้ในวัยเพียง 21 ปีเท่านั้น

          จุดเริ่มต้นการโรงตีดาบ มาจาก การรู้จักตัวเอง

         ย้อนกลับไปเมื่อเอิร์ธอายุ 15-16 ปี ที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ และกำลังก้าวเข้าสู่การเรียนต่อในชั้นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตอนนั้นเอิร์ธตระหนักรู้ถึงข้อจำกัดของตัวเองว่าเป็นคน เรียนไม่เก่ง เกรดเฉลี่ยไม่ดี จึงกลับมาตั้งคำถาม
กับตัวเองว่า ถ้าหัวไม่ดีด้านการเรียนจะวางแผนอย่างไรกับชีวิตต่อจากนี้ อนาคตจะมุ่งไปทางไหน? เมื่อนั่งคิดอย่าง
จริงจัง ไม่นานเขาก็ได้คำตอบว่า เขาต้องมุ่งหาความรู้ด้านทักษะฝีมือเพื่อสร้างเป็นอาชีพติดตัวคงเหมาะกับตัวเขาที่สุดในการที่จะทำให้เขาอยู่รอดได้ในสังคมต่อไป

         ช่วงเวลานั้น เอิร์ธ นั่งนึกใคร่ครวญจนนึกถึง หมู่บ้านข้างเคียงใกล้ๆ กับที่เขาอาศัยอยู่ ยังเหลือปราชญ์ท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญามาจากรุ่นสู่รุ่น มีความเชี่ยวชาญด้านการตีมีดแบบวิถีโบราณ เขาจึงไปสอบถาม และฝากตัวเป็นลูกศิษย์ และได้เริ่มเล่าเรียนลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังด้วยความมุ่งมั่นที่จะมีวิชาความรู้ในการสร้างอาชีพให้ตัวเองได้ในอนาคต

         แม้เอิร์ธ จะรู้ดีว่าตัวเองเรียนไม่เก่ง แต่ก็ยังไม่ทิ้งการเรียน หลังจากจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมปลายแล้ว เขายังเรียนต่อระดับปริญญาตรี ภาคพิเศษที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งลงเรียนเฉพาะวันเสาร์ – อาทิตย์ ควบคู่กับการเรียนตีดาบที่จะยึดเป็นอาชีพด้วย ดังนั้น เขาจึงมีเวลาว่างในช่วงวันธรรมดาไปหาประสบการณ์เพิ่มเติมด้วยการทำงานประจำที่บริษัทรับติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานและเปิดมุมมองใหม่ ๆ หลังจากทำได้สักระยะหนึ่ง เขาได้สามารถนำแนวทางการทำงานมาประยุกต์ใช้กับชีวิตตัวเองได้ จึงตัดสินใจ หันมาจริงจังเรื่องการ
ทำธุรกิจทำมีดแฮนด์เมดในช่วงที่เขากำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 การที่เขาคิด หรือตัดสินใจจะทำอะไรนั้นทางครอบครัว
รับทราบ และให้อิสระและเคารพในการตัดสินใจเสมอ ในช่วงเวลาต่อมา เอิร์ธ จึงเริ่มสร้างโรงตีมีดด้วยการใช้พื้นที่
บริเวณบ้านเพื่อสร้างอาชีพและหารายได้ให้ตนเอง

          “ผมเริ่มลงขายของผลงานจากฝีมือผมอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 พอดี ตอนนั้น ผมเน้นขายผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลักด้วยการโพสต์ขายลงตามกลุ่มเฟสบุ๊ค ในตอนแรกถือว่า ขายดี
พอสมควร ประกอบกับคนในชุมชนเริ่มรู้ว่า ผมรับซ่อม หรือ ตีมีดด้วย ก็มีมาสั่งทำกันบ้าง จึงทำให้ผมมีรายได้เข้า
มาเลี้ยงชีพตั้งแต่ตอนนั้น แต่พอเวลาผ่านไป ในช่วงที่สถานการณ์ COVID-19 เริ่มซาลง พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ผู้คนเริ่มออกนอกบ้านได้ ทำให้สินค้าออนไลน์เริ่มขายยากขึ้น ผมเลยต้องปรับตัวให้อยู่รอดด้วยการไปตั้งร้านค้าตาม
อีเว้นท์ต่าง ๆ ทั้งงานประจำอำเภอ งานประจำจังหวัด ไม่เว้นแม้แต่ตลาดนัดกลุ่มงานฝีมือครับ”
          หลังจากที่เอิร์ธปรับตัวด้วยการทำการตลาด ทั้ง แบบออฟไลน์และออนไลน์ จึงทำให้เขามีรายได้มาจนถึงปัจจุบัน แถมยัง มีรุ่นน้องในชุมชนมาขอความรู้และทำงานด้วย จากธุรกิจที่ทำเพียงลำพัง ก็เริ่มขยายตัว ทำให้เขาต้องวางแผนการขยายโรงตีมีดด้วยการมองหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมในการมาช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตของเขาและคนในชุมชนด้วย

          ‘ต้นกล้าชุมชน’ โครงการที่ช่วยต่อยอดธุรกิจและสร้างรายได้แก่คนในชุมชน

          “ผมมองเห็นความเป็นไปได้ในอาชีพนี้ ประกอบกับเริ่มมีน้อง ๆ ที่อยู่ในชุมชนมาทำงานด้วย ผมจึงอยากหาทุนมาสร้างโอกาสและพัฒนาสิ่งที่ทำอยู่ จึงตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการ ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 6 ของมูลนิธิเอสซีจี
ซึ่งผมได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ทำให้ผมได้รับองค์ความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นทั้งเรื่องกลยุทธ์การตลาด การสร้างแบรนด์ การตั้งเป้าหมายกลุ่มลูกค้า การเพิ่มมูลค่าและคุณค่าของงานที่เราทำ การได้เจอเพื่อนต้นกล้าในสายงานอื่นก็ทำให้ผมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เปิดมุมมองต่างๆ มากยิ่งขึ้น และยังมีเงินทุน ที่นำมาช่วยต่อยอดธุรกิจได้ ทำให้ผมมีเงินทุนหมุนเวียน สามารถปรับปรุงสถานที่เพื่อรองรับจำนวนคนให้มากขึ้น อีกทั้ง ยังสามารถจัดซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม และเป็นเบี้ยเลี้ยงให้น้อง ๆ ที่อยากมาหารายได้เสริมได้ สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้อีกด้วย ในอนาคตเมื่อผมมีเงินทุนมากขึ้น ผมก็จะกระจายรายได้ให้คนในชุมชนมากขึ้นกว่านี้ ด้วยการสั่งซื้อถ่านที่เป็นเชื้อเพลิงในการตีมีดจากพวกเขาในปริมาณที่มากขึ้นได้ด้วย”

          มนุษย์เราทุกคนล้วนอยากมีความสุข ความสุขเมื่อรู้ว่าชีวิตต้องการอะไร ชอบอะไร แต่หลายคนกลับยังไม่รู้ว่าความสุขของตัวเองคืออะไร ดังนั้นการตระหนักถึงความสุข และการมีอยู่ของมันในจิตใจที่เรียกว่า Self-awareness หากใครค้นพบหรือตระหนักรู้ตัวเองได้เร็วก็ย่อมมีโอกาสสร้างเส้นทางแห่งอนาคตของตนเองได้ชัดเจนได้ไวมากขึ้น เหมือนเรื่องราวของนายธรรมรัฐ มูลสาร หรือ น้องเอิร์ธ ที่รู้จักตัวเองได้ไว ว่าแท้จริงแล้ว เราต้องการอะไร? จึงสามารถพัฒนาจุดเด่นของตัวเอง จนสร้างธุรกิจส่วนตัวด้วยการทำมีดแฮนด์เมด ได้ในวัยเพียง 21 ปีเท่านั้น

          จุดเริ่มต้นการโรงตีดาบ มาจาก การรู้จักตัวเอง

         ย้อนกลับไปเมื่อเอิร์ธอายุ 15-16 ปี ที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ และกำลังก้าวเข้าสู่การเรียนต่อในชั้นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตอนนั้นเอิร์ธตระหนักรู้ถึงข้อจำกัดของตัวเองว่าเป็นคน เรียนไม่เก่ง เกรดเฉลี่ยไม่ดี จึงกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า ถ้าหัวไม่ดีด้านการเรียนจะวางแผนอย่างไรกับชีวิตต่อจากนี้ อนาคตจะมุ่งไปทางไหน? เมื่อนั่งคิดอย่างจริงจัง ไม่นานเขาก็ได้คำตอบว่า เขาต้องมุ่งหาความรู้ด้านทักษะฝีมือเพื่อสร้างเป็นอาชีพติดตัวคงเหมาะกับตัวเขาที่สุดในการที่จะทำให้เขาอยู่รอดได้ในสังคมต่อไป

         ช่วงเวลานั้น เอิร์ธ นั่งนึกใคร่ครวญจนนึกถึง หมู่บ้านข้างเคียงใกล้ๆ กับที่เขาอาศัยอยู่ ยังเหลือปราชญ์ท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญามาจากรุ่นสู่รุ่น มีความเชี่ยวชาญด้านการตีมีดแบบวิถีโบราณ เขาจึงไปสอบถาม และฝากตัวเป็นลูกศิษย์ และได้เริ่มเล่าเรียนลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังด้วยความมุ่งมั่นที่จะมีวิชาความรู้ในการสร้างอาชีพให้ตัวเองได้ในอนาคต

         แม้เอิร์ธ จะรู้ดีว่าตัวเองเรียนไม่เก่ง แต่ก็ยังไม่ทิ้งการเรียน หลังจากจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมปลายแล้ว เขายังเรียนต่อระดับปริญญาตรี ภาคพิเศษที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งลงเรียนเฉพาะวันเสาร์ – อาทิตย์ ควบคู่กับการเรียนตีดาบที่จะยึดเป็นอาชีพด้วย ดังนั้น เขาจึงมีเวลาว่างในช่วงวันธรรมดาไปหาประสบการณ์เพิ่มเติมด้วยการทำงานประจำที่บริษัทรับติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานและเปิดมุมมองใหม่ ๆ หลังจากทำได้สักระยะหนึ่ง เขาได้สามารถนำแนวทางการทำงานมาประยุกต์ใช้กับชีวิตตัวเองได้ จึงตัดสินใจ หันมาจริงจังเรื่องการทำธุรกิจทำมีดแฮนด์เมดในช่วงที่เขากำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 การที่เขาคิด หรือตัดสินใจจะทำอะไรนั้นทางครอบครัวรับทราบ และให้อิสระและเคารพในการตัดสินใจเสมอ ในช่วงเวลาต่อมา เอิร์ธ จึงเริ่มสร้างโรงตีมีดด้วยการใช้พื้นที่บริเวณบ้านเพื่อสร้างอาชีพและหารายได้ให้ตนเอง

          “ผมเริ่มลงขายของผลงานจากฝีมือผมอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 พอดี ตอนนั้น ผมเน้นขายผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลักด้วยการโพสต์ขายลงตามกลุ่มเฟสบุ๊ค ในตอนแรกถือว่า ขายดีพอสมควร ประกอบกับคนในชุมชนเริ่มรู้ว่า ผมรับซ่อม หรือ ตีมีดด้วย ก็มีมาสั่งทำกันบ้าง จึงทำให้ผมมีรายได้เข้ามาเลี้ยงชีพตั้งแต่ตอนนั้น แต่พอเวลาผ่านไป ในช่วงที่สถานการณ์ COVID-19 เริ่มซาลง พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ผู้คนเริ่มออกนอกบ้านได้ ทำให้สินค้าออนไลน์เริ่มขายยากขึ้น ผมเลยต้องปรับตัวให้อยู่รอดด้วยการไปตั้งร้านค้าตามอีเว้นท์ต่าง ๆ ทั้งงานประจำอำเภอ งานประจำจังหวัด ไม่เว้นแม้แต่ตลาดนัดกลุ่มงานฝีมือครับ”
          หลังจากที่เอิร์ธปรับตัวด้วยการทำการตลาด ทั้ง แบบออฟไลน์และออนไลน์ จึงทำให้เขามีรายได้มาจนถึงปัจจุบัน แถมยัง มีรุ่นน้องในชุมชนมาขอความรู้และทำงานด้วย จากธุรกิจที่ทำเพียงลำพัง ก็เริ่มขยายตัว ทำให้เขาต้องวางแผนการขยายโรงตีมีดด้วยการมองหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมในการมาช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตของเขาและคนในชุมชนด้วย

          ‘ต้นกล้าชุมชน’ โครงการที่ช่วยต่อยอดธุรกิจและสร้างรายได้แก่คนในชุมชน

          “ผมมองเห็นความเป็นไปได้ในอาชีพนี้ ประกอบกับเริ่มมีน้อง ๆ ที่อยู่ในชุมชนมาทำงานด้วย ผมจึงอยากหาทุนมาสร้างโอกาสและพัฒนาสิ่งที่ทำอยู่ จึงตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการ ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 6 ของมูลนิธิเอสซีจี ซึ่งผมได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ทำให้ผมได้รับองค์ความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นทั้งเรื่องกลยุทธ์การตลาด การสร้างแบรนด์ การตั้งเป้าหมายกลุ่มลูกค้า การเพิ่มมูลค่าและคุณค่าของงานที่เราทำ การได้เจอเพื่อนต้นกล้าในสายงานอื่นก็ทำให้ผมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เปิดมุมมองต่างๆ มากยิ่งขึ้น และยังมีเงินทุน ที่นำมาช่วยต่อยอดธุรกิจได้ ทำให้ผมมีเงินทุนหมุนเวียน สามารถปรับปรุงสถานที่เพื่อรองรับจำนวนคนให้มากขึ้น อีกทั้ง ยังสามารถจัดซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม และเป็นเบี้ยเลี้ยงให้น้อง ๆ ที่อยากมาหารายได้เสริมได้ สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้อีกด้วย ในอนาคตเมื่อผมมีเงินทุนมากขึ้น ผมก็จะกระจายรายได้ให้คนในชุมชนมากขึ้นกว่านี้ ด้วยการสั่งซื้อถ่านที่เป็นเชื้อเพลิงในการตีมีดจากพวกเขาในปริมาณที่มากขึ้นได้ด้วย”

          มีดแฮนด์เมด สินค้าที่โดดเด่นด้านคุณภาพและความประณีต

          สำหรับการทำมีดของเอิร์ธ มีจุดเด่นตรงที่เป็นงานฝีมือ 100 % เขาอยากรักษาภูมิปัญญาโบราณด้วยการอนุรักษ์วิถีดั้งเดิม ด้วยการทำมือ ไม่ใช้เครื่องจักร และใส่ใจในทุกขั้นตอน ไม่เว้นแม้แต่วัตถุดิบ ก็ต้องใช้ของดี เพื่อมุ่งเน้นที่คุณภาพของสินค้าเป็นหลัก ผลงานที่ได้จึงมีความประณีตสูง นอกจากนี้ เอิร์ธยังสามารถตีมีดได้หลากหลายประเภท รวมไปถึง สินค้าที่คนอื่นไม่รับทำแล้ว อย่างเช่น มีดขอเกี่ยวมะพร้าว หรืออุปกรณ์การประมง เขาจึงตอบโจทย์ลูกค้าได้เกือบทุกกลุ่ม โดยสินค้าขายดีจะเป็นพวก มีดการเกษตร มีดอีโต้ มีดอเนกประสงค์ มีดเดินป่า (มีดอีเหน็บ)

          “ด้วยภูมิปัญญาที่ผมได้เรียนรู้จากอาจารย์ ทำให้ผมตีมีดได้เกือบทุกประเภท ซึ่งก็เป็นอีกจุดเด่นของผมด้วยครับ เพราะต้องบอกว่า มีดแต่ละประเภทต้องใช้เทคนิคและการตีที่แตกต่างกัน ซึ่งรูปทรงของใบมีดก็ส่งผลต่อความยากง่ายด้วย อย่างถ้าใบมีดมีความโค้ง เว้ามากเท่าไหร่ การตีมีดจะยิ่งทำยากมากขึ้นเท่านั้น”

          อีกความภาคภูมิใจ คือ การทำสินค้าที่ดี และสร้างความสุขให้ผู้อื่น

          “ผมดีใจและมีความสุขทุกครั้ง เวลาได้เห็นสินค้าที่ผมมุ่งมั่นตั้งใจทำลงไป ได้ช่วยใครสักคนให้มีความสุขกับการ
ทำงานมากขึ้น อย่าง คุณตา คุณยาย แถวบ้านที่สั่งทำมีดกับผม พอเจอหน้ากันอีกครั้ง เขาดูมีความสุขและบอก
ชอบสินค้าชิ้นนี้มาก เพราะเป็นสินค้าที่ใช้งานได้ดีมีคุณภาพ แม้จะได้รับคำชมจากลูกค้าเกือบทุกคน แต่ผมก็ยังต้องเรียนรู้พัฒนาฝีมือตัวเองอยู่เสมอ ต้องทำมีดให้ดี มีความพิถีพิถันขั้นสูงสุด เท่าที่ผมจะทำได้ครับ”

          เคล็ดลับการทำงานให้มีประสิทธิภาพ คือ ความตั้งใจ และ ความใส่ใจ

          ‘ความตั้งใจ’ และ ‘ความใส่ใจ’ หากฟังผิวเผิน สองคำนี้ อาจดูเหมือนมีความหมายเดียวกัน แต่ในมุมมองของเอิร์ธนั้น เขามองต่าง หลังจากการตีมีดได้สอนให้เขาเข้าใจ 2 องค์ประกอบนี้อย่างลึกซึ้ง
          “การตีมีดสอนให้ผมรู้ว่า ทุกการทำงาน เราควรมีทั้งความตั้งใจและความใส่ใจควบคู่กัน ซึ่งความตั้งใจนั้น
หมายถึง การมุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจองค์ประกอบอื่น ฉะนั้น เราจึงต้องเติมความใส่ใจ
เข้าไป ซึ่งหมายถึง การลงลึกในทุกรายละเอียดและมีความรอบคอบครับ”

          บทเรียนของการตีมีด ได้สร้างความอดทน รู้จักแก้ปัญหาและการปล่อยวาง

          จากการฝึกปรือฝีมือด้านการตีมีดมาอย่างเชี่ยวชาญ นอกเหนือจากการได้ทักษะเพื่อสร้างอาชีพ เขายังได้บทเรียนมากมายมาจากการตีมีดด้วย
          “การตีมีดได้สอนผมมากมายเลยครับ อย่างแรก คงเป็นเรื่องของความอดทน พอผมเน้นการทำมีดด้วยมือไม่ใช่เครื่องจักร และต้องนั่งอยู่หน้าเตาหลอมเชื้อเพลิงที่มีความร้อนอุณหภูมิสูง 1,000 องศาเซลเซียส ผมจึงต้องลงมือทำอย่างใจเย็นและมีความอดทนสูง ส่วนต่อมา ผมมีสมาธิมากขึ้น เพราะการทำงานของผมอยู่บนความอันตราย ผมต้องวางจิตให้นิ่ง และโฟกัสกับสิ่งที่ทำ นอกจากนี้ สิ่งที่ช่างตีมีดย่อมรู้กันดี คือ ต้องรู้จักปล่อยวาง เพราะเราจะผ่านความ
ล้มเหลวจากการตีมีดมานับไม่ถ้วน เผลอ ๆ จำนวนครั้งความล้มเหลวอาจมากกว่าตอนที่ทำมีดแบบสำเร็จอีกครับ
แต่การทำงานทุกครั้ง ผมได้เรียนรู้และพัฒนา และสามารถพิสูจน์ให้คนในชุมชนเห็นว่า เราสามารถมีงาน มีรายได้
เลี้ยงดูตัวเอง เป็นเจ้าของกิจการ และเป็นแบบอย่างให้กับคนรุ่นใหม่ที่เลือกจะอยู่บ้าน ก็สามารถทำงานจนประสบความสำเร็จและมีความสุขได้”

          อยู่ในชุมชน ก็อยู่รอดได้

          “ผมมาสังเกตเห็น เรื่องการอยู่รอดในยุคปัจจุบันที่ชัด ๆ ก็ตอนช่วงสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมา ผมเห็น
หลายครอบครัวที่ไปทำงานในเมืองหลวง พอเจอวิกฤติหนัก บางคนตกงาน ก็ต้องกลับบ้านเกิดตนเอง อาจด้วยภาระ
ค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพที่สูงขึ้น แต่อย่างผมที่สร้างรายได้จากพื้นที่บ้านเกิดของผมเองตั้งแต่แรก ผมได้รับผลกระทบเหมือนกัน แต่อย่างน้อยการที่อยู่บ้านตัวเอง ผมใช้พื้นที่บ้านส่วนอื่น ปลูกพืชผักสวนครัวแบบเศรษฐกิจพอเพียงไว้ทำกับข้าวกินเอง ผมมีทรัพยากรพอยังชีพ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายไปได้เยอะพอสมควร ฉะนั้น การที่ผมทำงานในชุมชนท้องถิ่น
ตนเอง หากบางช่วงไม่มีรายได้ แต่อย่างน้อยผมไม่อดตายด้วยทรัพยากรการเกษตรที่เรามีครับ”

          ตั้งเป้าหมายด้วยการยกระดับมีดแฮนด์เมดไทยให้ทรงคุณค่า

          สำหรับอนาคตข้างหน้า เอิร์ธมีความฝันว่า อยากเห็นมีดแฮนด์เมดถูกยกระดับไปอีกขั้น ด้วยการมีหน้าร้าน
แบบเฉพาะเหมือนร้านกระเป๋าแบรนด์เนม หรือร้านนาฬิกาหรู เพราะเขาไม่อยากให้งานฝีมืออันทรงคุณค่าเหล่านี้สูญหายไป และในส่วนสินค้าของเขาเองนั้นก็วางแผนอยากสร้างแบรนด์ที่ชัดเจนและคิดค้นรูปแบบมีดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบงานฝีมือ เพราะเขามั่นใจว่า มีดแฮนด์เมด แม้จะตอบโจทย์ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม แต่ไม่มีทาง
หายไปง่าย ๆ เพราะลูกค้าที่ชื่นชอบงานฝีมืออันประณีตนี้ ยังมีความต้องการอยู่เรื่อย ๆ

          แหละนี่คือต้นแบบของคนรุ่นใหม่ที่จะเลือกอยู่ในถิ่นฐานบ้านเกิด โดยใช้ภูมิปัญญาปราชญ์ชุมชน มาสร้างรายได้ สร้างอาชีพ เรียนรู้เพื่ออยู่รอด พึงพาตัวเองได้ยั่งยืนต่อไป

          มีดแฮนด์เมด สินค้าที่โดดเด่นด้านคุณภาพและความประณีต

          สำหรับการทำมีดของเอิร์ธ มีจุดเด่นตรงที่เป็นงานฝีมือ 100 % เขาอยากรักษาภูมิปัญญาโบราณด้วยการอนุรักษ์วิถีดั้งเดิม ด้วยการทำมือ ไม่ใช้เครื่องจักร และใส่ใจในทุกขั้นตอน ไม่เว้นแม้แต่วัตถุดิบ ก็ต้องใช้ของดี เพื่อมุ่งเน้นที่คุณภาพของสินค้าเป็นหลัก ผลงานที่ได้จึงมีความประณีตสูง นอกจากนี้ เอิร์ธยังสามารถตีมีดได้หลากหลายประเภท รวมไปถึง สินค้าที่คนอื่นไม่รับทำแล้ว อย่างเช่น มีดขอเกี่ยวมะพร้าว หรืออุปกรณ์การประมง เขาจึงตอบโจทย์ลูกค้าได้เกือบทุกกลุ่ม โดยสินค้าขายดีจะเป็นพวก มีดการเกษตร มีดอีโต้ มีดอเนกประสงค์ มีดเดินป่า (มีดอีเหน็บ)

          “ด้วยภูมิปัญญาที่ผมได้เรียนรู้จากอาจารย์ ทำให้ผมตีมีดได้เกือบทุกประเภท ซึ่งก็เป็นอีกจุดเด่นของผมด้วยครับ เพราะต้องบอกว่า มีดแต่ละประเภทต้องใช้เทคนิคและการตีที่แตกต่างกัน ซึ่งรูปทรงของใบมีดก็ส่งผลต่อความยากง่ายด้วย อย่างถ้าใบมีดมีความโค้ง เว้ามากเท่าไหร่ การตีมีดจะยิ่งทำยากมากขึ้นเท่านั้น”

          อีกความภาคภูมิใจ คือ การทำสินค้าที่ดี และสร้างความสุขให้ผู้อื่น

          “ผมดีใจและมีความสุขทุกครั้ง เวลาได้เห็นสินค้าที่ผมมุ่งมั่นตั้งใจทำลงไป ได้ช่วยใครสักคนให้มีความสุขกับการทำงานมากขึ้น อย่าง คุณตา คุณยาย แถวบ้านที่สั่งทำมีดกับผม พอเจอหน้ากันอีกครั้ง เขาดูมีความสุขและบอกชอบสินค้าชิ้นนี้มาก เพราะเป็นสินค้าที่ใช้งานได้ดีมีคุณภาพ แม้จะได้รับคำชมจากลูกค้าเกือบทุกคน แต่ผมก็ยังต้องเรียนรู้พัฒนาฝีมือตัวเองอยู่เสมอ ต้องทำมีดให้ดี มีความพิถีพิถันขั้นสูงสุด เท่าที่ผมจะทำได้ครับ”

          เคล็ดลับการทำงานให้มีประสิทธิภาพ คือ ความตั้งใจ และ ความใส่ใจ

          ‘ความตั้งใจ’ และ ‘ความใส่ใจ’ หากฟังผิวเผิน สองคำนี้ อาจดูเหมือนมีความหมายเดียวกัน แต่ในมุมมองของเอิร์ธนั้น เขามองต่าง หลังจากการตีมีดได้สอนให้เขาเข้าใจ 2 องค์ประกอบนี้อย่างลึกซึ้ง
          “การตีมีดสอนให้ผมรู้ว่า ทุกการทำงาน เราควรมีทั้งความตั้งใจและความใส่ใจควบคู่กัน ซึ่งความตั้งใจนั้น หมายถึง การมุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจองค์ประกอบอื่น ฉะนั้น เราจึงต้องเติมความใส่ใจเข้าไป ซึ่งหมายถึง การลงลึกในทุกรายละเอียดและมีความรอบคอบครับ”

          บทเรียนของการตีมีด ได้สร้างความอดทน รู้จักแก้ปัญหาและการปล่อยวาง

          จากการฝึกปรือฝีมือด้านการตีมีดมาอย่างเชี่ยวชาญ นอกเหนือจากการได้ทักษะเพื่อสร้างอาชีพ เขายังได้บทเรียนมากมายมาจากการตีมีดด้วย
          “การตีมีดได้สอนผมมากมายเลยครับ อย่างแรก คงเป็นเรื่องของความอดทน พอผมเน้นการทำมีดด้วยมือไม่ใช่เครื่องจักร และต้องนั่งอยู่หน้าเตาหลอมเชื้อเพลิงที่มีความร้อนอุณหภูมิสูง 1,000 องศาเซลเซียส ผมจึงต้องลงมือทำอย่างใจเย็นและมีความอดทนสูง ส่วนต่อมา ผมมีสมาธิมากขึ้น เพราะการทำงานของผมอยู่บนความอันตราย ผมต้องวางจิตให้นิ่ง และโฟกัสกับสิ่งที่ทำ นอกจากนี้ สิ่งที่ช่างตีมีดย่อมรู้กันดี คือ ต้องรู้จักปล่อยวาง เพราะเราจะผ่านความล้มเหลวจากการตีมีดมานับไม่ถ้วน เผลอ ๆ จำนวนครั้งความล้มเหลวอาจมากกว่าตอนที่ทำมีดแบบสำเร็จอีกครับ แต่การทำงานทุกครั้ง ผมได้เรียนรู้และพัฒนา และสามารถพิสูจน์ให้คนในชุมชนเห็นว่า เราสามารถมีงาน มีรายได้ เลี้ยงดูตัวเอง เป็นเจ้าของกิจการ และเป็นแบบอย่างให้กับคนรุ่นใหม่ที่เลือกจะอยู่บ้าน ก็สามารถทำงานจนประสบความสำเร็จและมีความสุขได้”

          อยู่ในชุมชน ก็อยู่รอดได้

          “ผมมาสังเกตเห็น เรื่องการอยู่รอดในยุคปัจจุบันที่ชัด ๆ ก็ตอนช่วงสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมา ผมเห็นหลายครอบครัวที่ไปทำงานในเมืองหลวง พอเจอวิกฤติหนัก บางคนตกงาน ก็ต้องกลับบ้านเกิดตนเอง อาจด้วยภาระค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพที่สูงขึ้น แต่อย่างผมที่สร้างรายได้จากพื้นที่บ้านเกิดของผมเองตั้งแต่แรก ผมได้รับผลกระทบเหมือนกัน แต่อย่างน้อยการที่อยู่บ้านตัวเอง ผมใช้พื้นที่บ้านส่วนอื่น ปลูกพืชผักสวนครัวแบบเศรษฐกิจพอเพียงไว้ทำกับข้าวกินเอง ผมมีทรัพยากรพอยังชีพ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายไปได้เยอะพอสมควร ฉะนั้น การที่ผมทำงานในชุมชนท้องถิ่นตนเอง หากบางช่วงไม่มีรายได้ แต่อย่างน้อยผมไม่อดตายด้วยทรัพยากรการเกษตรที่เรามีครับ”

          ตั้งเป้าหมายด้วยการยกระดับมีดแฮนด์เมดไทยให้ทรงคุณค่า

          สำหรับอนาคตข้างหน้า เอิร์ธมีความฝันว่า อยากเห็นมีดแฮนด์เมดถูกยกระดับไปอีกขั้น ด้วยการมีหน้าร้านแบบเฉพาะเหมือนร้านกระเป๋าแบรนด์เนม หรือร้านนาฬิกาหรู เพราะเขาไม่อยากให้งานฝีมืออันทรงคุณค่าเหล่านี้สูญหายไป และในส่วนสินค้าของเขาเองนั้นก็วางแผนอยากสร้างแบรนด์ที่ชัดเจนและคิดค้นรูปแบบมีดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบงานฝีมือ เพราะเขามั่นใจว่า มีดแฮนด์เมด แม้จะตอบโจทย์ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม แต่ไม่มีทางหายไปง่าย ๆ เพราะลูกค้าที่ชื่นชอบงานฝีมืออันประณีตนี้ ยังมีความต้องการอยู่เรื่อย ๆ

          แหละนี่คือต้นแบบของคนรุ่นใหม่ที่จะเลือกอยู่ในถิ่นฐานบ้านเกิด โดยใช้ภูมิปัญญาปราชญ์ชุมชน มาสร้างรายได้ สร้างอาชีพ เรียนรู้เพื่ออยู่รอด พึงพาตัวเองได้ยั่งยืนต่อไป