เติมฝัน ปันสุข

ฌส นิยมทรัพย์ (ครูเฌอ)

ครูสอนไวโอลิน เจ้าของรางวัลดีเด่น
สาขาการประพันธ์ดนตรี
โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย ประจำปี 2556

เติมฝัน ปันสุข

ฌส นิยมทรัพย์ (ครูเฌอ)

ครูสอนไวโอลิน เจ้าของรางวัลดีเด่น
สาขาการประพันธ์ดนตรี
โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย ประจำปี 2556

พลังดนตรีสร้างคน

ปั้นเยาวชนสู่เวทีโลก

ฌส นิยมทรัพย์ (ครูเฌอ)

ครูสอนไวโอลิน เจ้าของรางวัลดีเด่น สาขาการประพันธ์ดนตรี
โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย ประจำปี 2556

Asset 1scgf_punsuk
Asset 2scgf_punsuk

เพราะเราเชื่อมั่นว่าคนไทยมีฝีมือด้านดนตรี
ไม่แพ้ชาติใดในโลก

      มีเพชรเม็ดงามในวงการศิลปะที่เฝ้ารอการเจียระไน พร้อมฉายแสงและแสดงศักยภาพในตัวเองออกมาได้อย่างเต็มที่ การประกวดจึงเป็นเวทีสำคัญที่ทำให้นักดนตรีรุ่นใหม่ได้แสดงความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์ และยังเป็นใบเบิกทางไปสู่การเป็นมืออาชีพ รวมถึงการแข่งขันในเวทีระดับสากลอย่างครูเฌอ ฌส นิยมทรัพย์ เจ้าของรางวัลดีเด่น โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย (Young Thai Artist Award) สาขาการประพันธ์ดนตรี ประจำปี 2556 โดย มูลนิธิเอสซีจี ซึ่งในปัจจุบันเขาเลือกเส้นทางวิชาชีพในสายศิลปะโดยเป็นครูสอนไวโอลิน และได้มุ่งมั่นสานฝันปลุกปั้นเด็กไทยจนสามารถเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งในเวทีต่างประเทศและแสดงศักยภาพสามารถคว้ามาได้ 4 รางวัล จากการประกวด Hongkong International Youth Performance Arts Festival เวทีที่สำคัญเวทีหนึ่งในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

จุดเริ่มต้นในการเลือกทางเดินชีวิตบนเส้นทางสายดนตรี

      ช่วงวัยประถมครูเฌอเป็นเด็กขี้สงสัยชอบความท้าทายมีความฝันอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์และมีความตั้งใจว่าเมื่อขึ้นชั้นมัธยมจะเรียนสายวิทย์ฯจนกระทั่งวันหนึ่งครูเฌอมีโอกาสไปฟังดนตรีกับครอบครัวแล้วได้ยินเสียงไวโอลินเป็นครั้งแรกรู้สึกมีความประทับใจเสียงของเครื่องดนตรีชิ้นนี้ จากนั้น ครูเฌอเริ่มสนใจเกี่ยวกับดนตรีและลองไปเรียนดนตรีหลายชนิด เช่น เปียโน อิเล็กโทน เป็นต้น แต่เครื่องดนตรีที่ครูเฌอสนใจมากที่สุดคือไวโอลิน ซึ่งนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนเส้นทางเดิน จากเด็กสายวิทย์ฯ ก้าวสู่เส้นทางสายดนตรี

“เพื่อนของผมส่วนใหญ่มักจะเลือกเรียนหมอกับวิศวะกันหมด
ส่วนผมฉีกแนวเลือกมาเรียนดนตรีซึ่งผมถือว่าตัวเองโชคดีมากที่ครอบครัวสนับสนุน
เพราะทั้งคุณพ่อคุณแม่เป็นคนที่ชอบดนตรีอยู่แล้ว และท่านทั้งสองก็ไม่เคยบังคับลูก
ว่าต้องเรียนอะไร แต่มีข้อตกลงกันว่าถ้าตัดสินใจเรียนดนตรีจะต้องเอาจริง
พัฒนาตัวเองให้ประสบความสำเร็จและรับผิดชอบเลี้ยงดูตัวเองให้ได้” ครูเฌอกล่าว

Asset 1scgf_punsuk
Asset 2scgf_punsuk

เพราะเราเชื่อมั่นว่าคนไทยมีฝีมือด้านดนตรี
ไม่แพ้ชาติใดในโลก

        มีเพชรเม็ดงามในวงการศิลปะที่เฝ้ารอการเจียระไน พร้อมฉายแสงและแสดงศักยภาพในตัวเองออกมาได้อย่างเต็มที่ การประกวดจึงเป็นเวทีสำคัญที่ทำให้นักดนตรีรุ่นใหม่ได้แสดงความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์ และยังเป็นใบเบิกทางไปสู่การเป็นมืออาชีพ รวมถึงการแข่งขันในเวทีระดับสากลอย่างครูเฌอ ฌส นิยมทรัพย์ เจ้าของรางวัลดีเด่น โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย (Young Thai Artist Award) สาขาการประพันธ์ดนตรี ประจำปี 2556 โดย มูลนิธิเอสซีจี ซึ่งในปัจจุบันเขาเลือกเส้นทางวิชาชีพในสายศิลปะโดยเป็นครูสอนไวโอลิน และได้มุ่งมั่นสานฝันปลุกปั้นเด็กไทย จนสามารถเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งในเวทีต่างประเทศและแสดงศักยภาพ สามารถคว้ามาได้ 4 รางวัล จากการประกวด Hongkong International Youth Performance Arts Festival เวทีที่สำคัญ
เวทีหนึ่งในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

จุดเริ่มต้นในการเลือกทางเดินชีวิตบนเส้นทางสายดนตรี

      ช่วงวัยประถมครูเฌอเป็นเด็กขี้สงสัยชอบความท้าทายมีความฝันอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์และมีความตั้งใจว่าเมื่อขึ้นชั้นมัธยมจะเรียนสายวิทย์ฯจนกระทั่งวันหนึ่งครูเฌอมีโอกาสไปฟังดนตรีกับครอบครัวแล้วได้ยินเสียงไวโอลินเป็นครั้งแรกรู้สึกมีความประทับใจเสียงของเครื่องดนตรีชิ้นนี้
จากนั้น ครูเฌอเริ่มสนใจเกี่ยวกับดนตรีและลองไปเรียนดนตรีหลายชนิด เช่น เปียโน อิเล็กโทน เป็นต้น แต่เครื่องดนตรีที่ครูเฌอสนใจมากที่สุดคือไวโอลิน ซึ่งนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนเส้นทางเดิน จากเด็กสายวิทย์ฯ ก้าวสู่เส้นทางสายดนตรี

“เพื่อนของผมส่วนใหญ่มักจะเลือกเรียนหมอกับวิศวะกันหมด
ส่วนผมฉีกแนวเลือกมาเรียนดนตรีซึ่งผมถือว่าตัวเองโชคดีมากที่ครอบครัวสนับสนุน
เพราะทั้งคุณพ่อคุณแม่เป็นคนที่ชอบดนตรีอยู่แล้ว และท่านทั้งสองก็ไม่เคยบังคับลูก
ว่าต้องเรียนอะไร แต่มีข้อตกลงกันว่าถ้าตัดสินใจเรียนดนตรีจะต้องเอาจริง
พัฒนาตัวเองให้ประสบความสำเร็จและรับผิดชอบเลี้ยงดูตัวเองให้ได้” ครูเฌอกล่าว

เสียงไวโอลินคือรักแรกพบ คือแรงบันดาลใจเพื่อไปตามฝัน

“เสียงของมันให้ความรู้สึกเหมือนกับรักแรกพบ” ครูเฌอกล่าวถึงเสียงของไวโอลิน

      ก่อนที่จะตัดสินใจเรียนไวโอลินอย่างจริงจังครูเฌอได้ลองเรียนเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ไปด้วย เพื่อเรียนรู้พื้นฐานของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดแต่ไม่ได้ให้ความสนใจกับเครื่องดนตรีเหล่านั้นมากนักเมื่อเทียบกับไวโอลิน สำหรับครูเฌอการเรียนไวโอลินยิ่งเรียนยิ่งเห็นว่ามีหลายอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับเครื่องดนตรีชิ้นนี้ โดยเฉพาะเรื่องเสียงไวโอลินอันมีเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นเสียงที่ให้แรงบันดาลใจ ครูเฌอจึงตัดสินใจเลือกเรียนไวโอลินและตั้งใจฝึกซ้อมเรื่อยมา

      เสียงไวโอลิน คือ แรงบันดาลใจให้มุ่งหน้าสู่เส้นทางสายดนตรี แต่ยังมีแรงบันดาลใจเล็ก ๆ ที่เป็นจุดเริ่มต้นให้ครูเฌอรู้สึกสนใจดนตรีมาจากการฟังเพลงคลาสสิกที่คุณแม่เปิดให้ฟังก่อนนอน พอ ครูเฌอเริ่มเรียนไวโอลินในช่วงแรกคุณแม่มักจะหาซื้อซีดีเพลงของนักไวโอลินที่มีชื่อเสียงระดับโลก มาให้ครูเฌอฟัง ซึ่งมีนักไวโอลินหลายคนที่ครูเฌอชื่นชอบและเป็นแรงบันดาลใจเป็นแรงผลักดันให้ครูเฌอทุ่มเทฝึกซ้อมพัฒนาฝีมือเพื่อที่จะเป็นเหมือนนักไวโอลินที่เขาชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็น พินชาส ซอเกอร์แมน (Pinchas Zukerman) เยฮูดิ เมนูฮิน (Yehudi Menuhin) และ วาเนสซา เมย์ (Vanessa Mae)

“นักไวโอลินพวกนี้เขามีเอกลักษณ์ของตัวเองเวลาเล่นเราสามารถรู้ได้เลยว่าอันนี้ใครเล่น
อย่าง พินชาส ซอเกอร์แมน คือเป็นแรงบันดาลใจตอนแรกตั้งแต่ผมยังไม่ได้เริ่มเรียนไวโอลิน
พอเริ่มเรียนแล้วก็ไปซื้อซีดีของ พินซาส มาฟัง แล้วเชื่อไหมครับว่าตอนที่ไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา
ผมได้เข้าไปที่หอแสดงดนตรีแล้วได้นั่งฟังเขาเล่นสดจริง ๆ ถือว่าเป็นเกียรติมากที่ได้ฟัง
ไอดอลของผมเล่นสด ๆ แล้วที่ยิ่งไปกว่านั้นคือผมได้เรียนกับลูกศิษย์ของ พินซาส ด้วยครับ”
ครูเฌอกล่าวด้วยรอยยิ้ม

Asset 3scgf_punsuk

ดนตรีไม่ได้สอนแค่ให้เล่นออกมา เป็นเสียงเพราะ ๆ แต่มันสอนเรื่องของวินัย เรื่องของการควบคุมอารมณ์ และความอดทน ซึ่งทักษะเหล่านี้มันจะติดตัวเขาไปจนวันตาย

เวทีการประกวด Young Thai Artist Award บันไดสู่ความสำเร็จ

หลังจากตัดสินใจก้าวเข้าสู่เส้นทางด้านดนตรีอย่างเต็มตัว ครูเฌอได้เข้าเรียน ที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากไวโอลินแล้วการประพันธ์ดนตรี เป็นศาสตร์อีกแขนงที่ครูเฌอเรียนรู้เพิ่มเติมด้วย ซึ่งครูเฌอได้นำผลงาน การประพันธ์เพลงชื่อ ‘สุริยะภูมิจักรวาล’ ของตนเอง ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจาก ภาพวาดมาสเตอร์พีซ ‘สุริยะภูมิจักรวาล’ ของ อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2544 ส่งเข้าร่วมประกวดโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย (Young Thai Artist Award) โดย มูลนิธิเอสซีจี ในสาขาการประพันธ์ดนตรี จนได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2556 รางวัลนี้นับว่าเป็นบันไดสู่ความสำเร็จ ขั้นแรกในด้านดนตรีของครูเฌอ

เวทีการประกวด Young Thai Artist Award บันไดสู่ความสำเร็จ

      หลังจากตัดสินใจก้าวเข้าสู่เส้นทางด้านดนตรีอย่างเต็มตัว ครูเฌอได้เข้าเรียน ที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากไวโอลินแล้วการประพันธ์ดนตรี เป็นศาสตร์อีกแขนงที่ครูเฌอเรียนรู้เพิ่มเติมด้วย ซึ่งครูเฌอได้นำผลงาน การประพันธ์เพลงชื่อ ‘สุริยะภูมิจักรวาล’ ของตนเอง ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจาก ภาพวาดมาสเตอร์พีซ ‘สุริยะภูมิจักรวาล’ ของ อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2544 ส่งเข้าร่วมประกวดโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย (Young Thai Artist Award) โดย มูลนิธิเอสซีจี ในสาขาการประพันธ์ดนตรี จนได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2556 รางวัลนี้นับว่าเป็นบันไดสู่ความสำเร็จ ขั้นแรกในด้านดนตรีของครูเฌอ

“ผมว่าศิลปะมันสามารถเชื่อมโยงกันได้จากภาพสามารถนำมาสร้างสรรค์ออกมาเป็นเสียงได้ ดังนั้นผมเลยแต่งเพลงนี้ขึ้นมา
ตอนแรกก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะได้รับรางวัลที่ส่งผลงานเข้าประกวดเพราะผมอยากนำเพลงที่ตัวเองแต่งออกมาเล่นให้คนอื่นได้ฟัง
พอได้รับรางวัลก็รู้สึกภาคภูมิใจและดีใจมาก มีคนเห็นคุณค่าในงานศิลปะที่เราทำ ผลงานที่ตั้งใจสร้างมันออกมามันไม่สูญหายไป
ขอบคุณมูลนิธิเอสซีจีที่เปิดพื้นที่ให้เยาวชนไทยได้แสดงศักยภาพ” ครูเฌอกล่าว

      ประสบการณ์ที่ครูเฌอได้รับจากการเข้าร่วมโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย (Young Thai Artist Award) นอกจากการส่งผลงานเข้าประกวดแล้วคือการได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ
ได้เจอกับเพื่อนต่างมหาวิทยาลัยซึ่งได้แลกเปลี่ยนความคิดในเรื่องของงานศิลปะและดนตรี เป็นอีกหนึ่งแรงผลักดัน ที่ทำให้ครูเฌอทุ่มเทให้กับการเรียนและการประพันธ์ดนตรีมากขึ้น

เรียนรู้ สานฝัน ฝ่าฝัน อุปสรรค

      ไม่มีอุปสรรคใดจะมาขวางทางเราได้ หากเรามีความมุ่งมั่นจริงจังกับสิ่งนั้น กว่าจะมาถึงจุดนี้ครูเฌอต้องฝึกซ้อมไวโอลินอย่างหนักในแต่ละวัน โดยจะแบ่งเวลาซ้อมวันละหนึ่งชั่วโมงครึ่ง และซ้อมทุกวันจนรู้สึกเหมือนไวโอลินเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย เพราะยิ่งซ้อมมากก็ได้พบความผิดพลาดของตนเองและเรียนรู้แก้ไขให้ถูกต้องเพื่อที่จะได้ไม่กลับไปผิดพลาดซ้ำอีก ถือเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่นำไปสู่การประสบความสำเร็จ รวมถึงการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาตนเอง อย่างเช่นในสมัยก่อนการหาครูสอนพื้นฐานไวโอลินที่เก่ง มีน้อยมากในประเทศไทย ครูเฌอจึงลองผิดลองถูกเรียนรู้ด้วยตัวเอง จนกระทั่งไปเรียน เพิ่มเติมที่ต่างประเทศภายใต้การสอนของ Prof. David Frühwirth สุดยอดนักไวโอลินชาวออสเตรีย ทำให้รู้ว่าบางอย่างที่ทำมายังไม่ถูกต้อง เมื่อรู้ว่าไม่ถูกก็นำมาปรับปรุงแก้ไข ถือเป็นประสบการณ์ ทักษะ ความรู้ที่ครูเฌอตั้งใจนำมาถ่ายทอดให้กับเด็กนักเรียนของเขาต่อไป

“ความมุ่งมั่นทุ่มเทสำคัญมากครับ ผมซ้อมทุกวันวันละประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่ง ยิ่งช่วงที่จะสอบตัวติดกับไวโอลินเลยก็ว่าได้
มันเป็นธรรมชาติเหมือนกับว่าเราไม่คิดว่ามันเป็นการซ้อมแต่คิดว่ามันเป็นเหมือนอวัยวะส่วนหนึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเล่น คงเหมือนกับเด็กคนอื่น ๆ เล่นวิดีโอเกมส์แต่ผมเล่นไวโอลิน สำหรับคนที่สนใจด้านดนตรีหรือสนใจอยากทำอะไรก็แล้วแต่ อย่างแรกเลยคือ ลงมือทำ เรียนรู้ความผิดพลาดจากการทำ ถ้าเราไม่กล้าที่จะลงมือทำ สิ่งต่างๆ จะไม่มีทางเกิดขึ้น ถ้ารู้สึกว่าดนตรี

น่าสนใจให้ลองไปเรียน แล้วถามตัวเองว่าเราชอบมันจริง ๆไหม จากนั้นให้เวลากับมัน ก็เหมือนกับคนนั่นแหละครับ
เวลาจะไปเจอคนคนหนึ่งที่เรายังไม่รู้จักเราก็ต้องให้เวลากับเขา อย่าเพิ่งไปตัดสินว่าเขาดีหรือไม่ดี แค่ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ
ลองอยู่กับเขาไปซักพักหนึ่งแล้วเราจะรู้ว่าเขาเหมาะกับเราหรือเปล่า” ครูเฌอกล่าว

ความภาคภูมิใจของการเป็นครู สร้างนักดนตรีรุ่นเยาว์

      “เพราะดนตรี เป็นสิ่งที่ยกระดับศักยภาพและจิตใจของมนุษย์ครับ ถ้ามนุษย์ใช้ชีวิตไปโดยที่ไม่มีดนตรี มนุษย์ก็จะมีแค่ ตื่นมา กินข้าว ทำงาน หาเงิน ชีวิตจะมีแค่นี้ ดนตรีเป็นสิ่งที่เติมเต็มสุนทรียภาพทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์อย่างแท้จริง เด็ก ๆ ที่เรียนดนตรี แม้ว่าเมื่อเขาโตขึ้นจะไม่ได้เป็นนักดนตรี เขาเลือกเส้นทางของตัวเอง แต่ดนตรีมันเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเขา เพราะดนตรีไม่ได้สอนแค่ให้เล่นออกมาเป็นเสียงเพราะ ๆ แต่มันสอนเรื่องของวินัย เรื่องของการควบคุมอารมณ์ และความอดทน ซึ่งทักษะเหล่านี้มันจะติดตัวเขาไปจนวันตาย”

เป็นเวลากว่า 12 ปีแล้วที่ครูเฌอมีความสุขกับการเป็นครูสอนไวโอลินให้กับเด็ก ๆ อายุระหว่าง 3 – 13 ปี จำนวนกว่า 20 คน การสร้างคนเป็นงานที่หนัก แต่เป็นงาน ที่ทำแล้วไม่เหนื่อย เพราะเขาทุ่มเทด้วยความรัก รวมถึงได้พิสูจน์ตัวเองกับสังคมว่าคนที่เรียนดนตรีก็สามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว เป็นคน ที่ประสบความสำเร็จได้ ยิ่งเมื่อเห็นลูกศิษย์ได้มีโอกาสไปร่วมแข่งขันในหลายเวทีระดับนานาชาติ อาทิ The 22th 2021 Osaka International Music Competition และ Hong Kong International Youth Performance Arts Festival ครูเฌอก็รู้สึกภาคภูมิใจในฐานะครูผู้ถ่ายทอดความรู้และสร้างเยาวชนไทยที่มีคุณภาพประดับวงการศิลปะไทย

“ผมมองว่าการที่ตัวเองได้รับรางวัลก็เป็นความภูมิใจในตัวเองส่วนหนึ่ง แต่ความสำเร็จจริง ๆ ที่ผมภาคภูมิใจมากที่สุดในเวลานี้ คือ
การเป็นครูสอนไวโอลิน เพราะได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิค ฝึนฝน เคี่ยวกรำเด็ก ๆ จนได้สร้างนักดนตรีรุ่นเยาว์ เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขัน
ในเวทีต่างประเทศอย่าง Hong Kong International Youth Performance Arts Festival การแข่งขันในระดับนานาชาติซึ่งมีคู่แข่งอย่าง
เกาหลี ฮ่องกง มาเก๊า แล้วเด็กไทยสามารถแสดงศักยภาพได้รับรางวัลกลับมาถึง 4 รางวัล มันคือดอกผลของความพยายามที่เติบโตอย่างงอกงาม
ผมรู้สึกดีใจและภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ” ครูเฌอกล่าว

นอกจากนี้ครูเฌอยังมีความฝันที่อยากเห็นเด็กไทยก้าวไปสู่เวทีดนตรีระดับโลกเพื่อให้รู้ว่าคนไทยสามารถเล่นดนตรีคลาสสิกได้ยอดเยี่ยมทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ เพราะเด็กไทยมีศักยภาพไม่แพ้ชาติใดในโลก หากได้รับโอกาส และการบ่มเพาะที่ดี เราเชื่อมั่นว่าจะต้องมีเด็กไทยเติบโตและประสบความสำเร็จสร้างชื่อเสียงในระดับเวทีโลกในอนาคตอย่างแน่นอน