เติมฝัน ปันสุข

นายนรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์ (บอล)

ศิลปิน LGBTQIA+ ที่สร้างผลงานศิลปะสะท้อนอัตลักษณ์
ความหลากหลายทางเพศถูกจัดแสดงทั้งในไทยและต่างประเทศ
เจ้าของรางวัลดีเด่น สาขา ภาพถ่าย โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย
โดย มูลนิธิเอสซีจี ประจำปี 2016

ศิลปินเพศทางลือก ผู้ใช้ผลงานศิลปะ แสดงจุดยืนและสร้างแรงบันดาลใจ
สนับสนุนให้ทุกคน มีความมั่นใจ และภาคภูมิใจที่ได้เป็นในตัวเอง

นายนรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์ (บอล)

ศิลปิน LGBTQIA+ ที่ สร้างผลงานศิลปะ
สะท้อนอัตลักษณ์ความหลากหลายทางเพศ

          ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครหนึ่งคนจะเติบโตขึ้นมาท่ามกลางสังคมที่ถูกตีกรอบด้วยข้อจำกัดทางเพศเพื่อ
ไม่ให้ตัวเองกลายเป็นคนที่แตกต่าง และถูกมองข้ามด้วยสายตาที่แปลกประหลาด ตลอดช่วงวัยเด็กจนกระทั่งเข้าสู่วัยทำงาน “บอล – นรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์” เลือกที่จะปกปิดซ่อนความเป็นตัวเองที่แท้จริง
ต่อสังคมไว้ด้วยความกลัว จนกระทั่งได้มาทำงานศิลปะทำให้เขาได้เติบโตและเรียนรู้ว่าความหลากหลายทางเพศไม่ใช่เรื่องที่ผิดแปลก แต่เป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนในสังคมควรเข้าใจ บอลได้เริ่มถ่ายทอดเรื่องราวความรู้สึกและเปิดเผยตัวตนผ่านผลงานศิลปะโดยเลือกใช้ “ดอกไม้” เป็นตัวแทนในการแสดงออก จนได้รับความสนใจและถูกยกย่องว่าเขาเป็นหนึ่งในกระบอกเสียงที่ทรงพลังให้กับ LGBTQIA+ จนกลายเป็น
แรงบันดาลใจให้ใครหลาย ๆ คนมีความกล้า มีความมั่นใจ และเลือกที่จะมีความสุขในแบบที่ได้เป็นตัวเอง

จุดเริ่มต้นในเส้นทางสายศิลปะที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต

          “เราชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็ก ๆ ตอนช่วงมัธยมศึกษาตอนปลายก็เริ่มรู้แล้วว่าอยากเรียนต่อในสายศิลปะ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเป็นศิลปะแขนงไหนดี ตอนแรกจะเลือกเรียนสถาปัตยกรรม แต่พอไปติวก็ได้รู้ว่าการเรียนศิลปะสอนให้เรารู้ว่าทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นจริงได้ เพราะส่วนตัวรู้สึกว่าชีวิตถูกจำกัดจินตนาการมากเกินไป เลย
หันมาทางทัศนศิลป์เพื่อช่วยปลดปล่อย ลดแรงกดทับจากสังคม ตอนนั้นรู้สึกว่าอยากเรียนถ่ายภาพก็เลย
มุ่งไปที่เอกการถ่ายภาพ ตอนเรียนมหาวิทยาลัย อาจารย์จะเน้นสอนเกี่ยวกับ Conceptual Art คือ เน้นในเรื่องคอนเซปต์ในการทำงานศิลปะ ซึ่งตอนนั้นเราไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร จนกระทั่งเรียนจบออกมาใช้ชีวิต ได้เห็นชีวิตจริงว่าเราต้องเผชิญหน้ากับอะไรบ้าง งานศิลปะชุดแรกหลังจากเรียนจบจึงเป็นงานศิลปะที่เราสร้างขึ้น เพื่อที่
จะบำบัดสภาพจิตใจของตัวเอง ตั้งแต่เด็กจนกระทั่งเรียนจบมหาวิทยาลัย เราไม่เคยบอกใครเลยว่าเป็นเพศทางเลือก เราต้องการที่จะปกปิดสิ่งนี้เอาไว้ เพราะรู้สึกว่าไม่พร้อมที่จะพูด จนมาถึงจุดหนึ่งที่เราไปทำงาน และคิดว่าอยากบอกใครสักคนให้รับรู้ตัวตนที่แท้จริงของเรา ปรากฏว่าวันรุ่งขึ้นคน ๆ นั้นเอาเรื่องของเราไปพูดต่อกัน
ในแผนก เขาทำเหมือนว่ามันเป็นเรื่องตลก ทำให้เรากลับมารู้สึกกลัวอีกครั้งสุดท้ายแล้วเราก็ยังไม่กล้าที่จะบอกใครว่าเราเป็นอะไร วันนั้นเราจึงระบายความรู้สึกออกมาผ่านงานศิลปะ และใช้งานศิลปะเป็นตัวกลางในการพูดเรื่องเพศสภาพ เกิดเป็นงานชุด Gushing Out My Confession งานชิ้นนี้กลายเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้เราได้มีความกล้าเล็ก ๆ ส่งต่อไปสู่งานในชิ้นถัด ๆ ไป ซึ่งงานของเราได้การยอมรับทั้งในฐานะผลงานศิลปะ และตัวตนของศิลปิน ทำให้ปัจจุบันนี้เราสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่าเราเป็นศิลปินเพศทางเลือก LGBTQIA+”

“งานศิลปะเปิดโอกาสให้เราได้เป็นตัวของตัวเองอีกครั้งหนึ่ง”

ศิลปิน LGBTQIA+ ที่ สร้างผลงานศิลปะ
สะท้อนอัตลักษณ์ความหลากหลายทางเพศ

          ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครหนึ่งคนจะเติบโตขึ้นมาท่ามกลางสังคมที่ถูกตีกรอบด้วยข้อจำกัดทางเพศเพื่อไม่ให้ตัวเองกลายเป็นคนที่แตกต่าง และถูกมองข้ามด้วยสายตาที่แปลกประหลาด ตลอดช่วงวัยเด็กจนกระทั่งเข้าสู่วัยทำงาน “บอล – นรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์” เลือกที่จะปกปิดซ่อนความเป็นตัวเองที่แท้จริงต่อสังคมไว้ด้วยความกลัว จนกระทั่งได้มาทำงานศิลปะทำให้เขาได้เติบโตและเรียนรู้ว่าความหลากหลายทางเพศไม่ใช่เรื่องที่ผิดแปลก แต่เป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนในสังคมควรเข้าใจ บอลได้เริ่มถ่ายทอดเรื่องราวความรู้สึกและเปิดเผยตัวตนผ่านผลงานศิลปะโดยเลือกใช้ “ดอกไม้” เป็นตัวแทนในการแสดงออก จนได้รับความสนใจและถูกยกย่องว่าเขาเป็นหนึ่งในกระบอกเสียงที่ทรงพลังให้กับ LGBTQIA+ จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ใครหลาย ๆ คนมีความกล้า มีความมั่นใจ และเลือกที่จะมีความสุขในแบบที่ได้เป็นตัวเอง

จุดเริ่มต้นในเส้นทางสายศิลปะที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต

          “เราชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็ก ๆ ตอนช่วงมัธยมศึกษาตอนปลายก็เริ่มรู้แล้วว่าอยากเรียนต่อในสายศิลปะ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเป็นศิลปะแขนงไหนดี ตอนแรกจะเลือกเรียนสถาปัตยกรรม แต่พอไปติวก็ได้รู้ว่าการเรียนศิลปะสอนให้เรารู้ว่าทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นจริงได้ เพราะส่วนตัวรู้สึกว่าชีวิตถูกจำกัดจินตนาการมากเกินไป เลยหันมาทางทัศนศิลป์เพื่อช่วยปลดปล่อย ลดแรงกดทับจากสังคม ตอนนั้นรู้สึกว่าอยากเรียนถ่ายภาพก็เลยมุ่งไปที่เอกการถ่ายภาพ ตอนเรียนมหาวิทยาลัย อาจารย์จะเน้นสอนเกี่ยวกับ Conceptual Art คือ เน้นในเรื่องคอนเซปต์ในการทำงานศิลปะ ซึ่งตอนนั้นเราไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร จนกระทั่งเรียนจบออกมาใช้ชีวิต ได้เห็นชีวิตจริงว่าเราต้องเผชิญหน้ากับอะไรบ้าง งานศิลปะชุดแรกหลังจากเรียนจบจึงเป็นงานศิลปะที่เราสร้างขึ้น เพื่อที่จะบำบัดสภาพจิตใจของตัวเอง ตั้งแต่เด็กจนกระทั่งเรียนจบมหาวิทยาลัย เราไม่เคยบอกใครเลยว่าเป็นเพศทางเลือก เราต้องการที่จะปกปิดสิ่งนี้เอาไว้ เพราะรู้สึกว่าไม่พร้อมที่จะพูด จนมาถึงจุดหนึ่งที่เราไปทำงาน และคิดว่าอยากบอกใครสักคนให้รับรู้ตัวตนที่แท้จริงของเรา ปรากฏว่าวันรุ่งขึ้นคน ๆ นั้นเอาเรื่องของเราไปพูดต่อกันในแผนก เขาทำเหมือนว่ามันเป็นเรื่องตลก ทำให้เรากลับมารู้สึกกลัวอีกครั้งสุดท้ายแล้วเราก็ยังไม่กล้าที่จะบอกใครว่าเราเป็นอะไร วันนั้นเราจึงระบายความรู้สึกออกมาผ่านงานศิลปะ และใช้งานศิลปะเป็นตัวกลางในการพูดเรื่องเพศสภาพ เกิดเป็นงานชุด Gushing Out My Confession งานชิ้นนี้กลายเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้เราได้มีความกล้าเล็ก ๆ ส่งต่อไปสู่งานในชิ้นถัด ๆ ไป ซึ่งงานของเราได้การยอมรับทั้งในฐานะผลงานศิลปะ และตัวตนของศิลปิน ทำให้ปัจจุบันนี้เราสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่าเราเป็นศิลปินเพศทางเลือก LGBTQIA+”

“งานศิลปะเปิดโอกาสให้เราได้เป็นตัวของตัวเองอีกครั้งหนึ่ง”

การเรียนรู้สู่การพัฒนา และโอกาสในการต่อยอดความสามารถอย่างไร้ขีดจำกัด

          “งานศิลปะที่เราทำเหมือนเป็นการสะสมพัฒนาการของตัวเอง จนเมื่อปี 2016 จึงได้มีโอกาสส่งผลงานภาพถ่ายชุด Perfect Flower หรือดอกสมบูรณ์เพศ เข้าร่วมโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย หรือ Young Thai Artist Award ของมูลนิธิเอสซีจี ตอนนั้นรู้สึกว่าอยากให้งานของตัวเองเอาชนะใจกรรมการให้ได้ อยากให้คำบรรยายของเราเป็นสิ่งที่คนอื่นอ่านแล้วเข้าใจ และสัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่เราต้องการจะบอก ท้ายที่สุดผลงานของเราได้รับรางวัลดีเด่นในปีนั้น แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่ารางวัลคือโอกาสที่
ทางมูลนิธิเอสซีจีมอบให้คนเก่งที่มีความหลากหลายอย่างเรา สนับสนุนส่งเสริมเราในหลายด้านทำให้เราได้แสดงความสามารถ ทำให้เรารู้สึกถึงคุณค่าของตัวเอง และในสิ่ง
ที่ตัวเองทำ และต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพของตัวเองอย่างต่อเนื่องไม่หยุดนิ่งในการสร้างสรรค์ผลงานต่อไป จนล่าสุดเราตัดสินใจส่งผลงานไปยังสถานทูตฝรั่งเศส เพื่อ
ขอทุนไปจัดแสดงผลงานที่นั่น และถือเป็นเกียรติอย่างมากที่ผลงานของเราก็ได้รับคัดเลือกให้นำไปจัดแสดงปลายปีนี้ ถือเป็นความสำเร็จและภาคภูมิใจอีกครั้งที่งานศิลปะ
ของเราที่บอกเล่าเรื่องราวความรู้สึกแทนตัวเราจะถูกนำไปจัดแสดงในต่างประเทศให้คนต่างชาติได้ชม ได้สัมผัสผลงานศิลปะที่เราตั้งใจส่งต่อแรงบันดาลใจนี้ไปถึงทุกคน
ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติที่ต้องพบเจอสถานการณ์ในชีวิตแบบเดียวกันให้กล้าที่จะมั่นใจในตัวเอง และหยัดยืนอย่างภาคภูมิในฐานะมนุษย์”

“ความสุขที่เกิดจากการได้ทำในสิ่งที่รัก เป็นอะไรที่ยิ่งกว่าประสบความสำเร็จ”

การเรียนรู้สู่การพัฒนา และโอกาสในการต่อยอดความสามารถอย่างไร้ขีดจำกัด

          “งานศิลปะที่เราทำเหมือนเป็นการสะสมพัฒนาการของตัวเอง จนเมื่อปี 2016 จึงได้มีโอกาสส่งผลงานภาพถ่ายชุด Perfect Flower หรือดอกสมบูรณ์เพศ เข้าร่วมโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย หรือ Young Thai Artist Award ของมูลนิธิเอสซีจี ตอนนั้นรู้สึกว่าอยากให้งานของตัวเองเอาชนะใจกรรมการให้ได้ อยากให้คำบรรยายของเราเป็นสิ่งที่คนอื่นอ่านแล้วเข้าใจ และสัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่เราต้องการจะบอก ท้ายที่สุดผลงานของเราได้รับรางวัลดีเด่นในปีนั้น แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่ารางวัลคือโอกาสที่ทางมูลนิธิเอสซีจีมอบให้คนเก่งที่มีความหลากหลายอย่างเรา สนับสนุนส่งเสริมเราในหลายด้านทำให้เราได้แสดงความสามารถ ทำให้เรารู้สึกถึงคุณค่าของตัวเอง และในสิ่งที่ตัวเองทำ และต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพของตัวเองอย่างต่อเนื่องไม่หยุดนิ่งในกาสร้างสรรค์ผลงานต่อไป จนล่าสุดเราตัดสินใจส่งผลงานไปยังสถานทูตฝรั่งเศส เพื่อขอทุนไปจัดแสดงผลงานที่นั่น และถือเป็นเกียรติอย่างมากที่ผลงานของเราก็ได้รับคัดเลือกให้นำไปจัดแสดงปลายปีนี้ ถือเป็นความสำเร็จและภาคภูมิใจอีกครั้งที่งานศิลปะของเราที่บอกเล่าเรื่องราวความรู้สึกแทนตัวเราจะถูกนำไปจัดแสดงในต่างประเทศให้คนต่างชาติได้ชม ได้สัมผัสผลงานศิลปะที่เราตั้งใจส่งต่อแรงบันดาลใจนี้ไปถึงทุกคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติที่ต้องพบเจอสถานการณ์ในชีวิตแบบเดียวกันให้กล้าที่จะมั่นใจในตัวเอง และหยัดยืนอย่างภาคภูมิในฐานะมนุษย์”

“ความสุขที่เกิดจากการได้ทำในสิ่งที่รัก เป็นอะไรที่ยิ่งกว่าประสบความสำเร็จ”

แรงบันดาลใจ ในการเลือกดอกไม้เป็นสื่อกลางผ่านงานศิลปะ

          จากผลงานและความตั้งใจที่จะถ่ายทอดเรื่องราวความหลากหลายทางเพศที่ผ่านมาของคุณบอลเชื่อว่า
วันนี้ดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์แทนความรู้สึกได้เข้าไปเบ่งบานในใจของผู้ที่ได้มาสัมผัสภาพถ่ายของคุณบอลอย่างแน่นอน และเมื่อถามคุณบอลว่าอนาคตจะมีการใช้สัญลักษณ์อย่างอื่นมาทดแทนดอกไม้หรือไม่? ก็ได้รับคำตอบว่า “ณ ปัจจุบันนี้ดอกไม้ยังคงเป็นสิ่งที่ทรงพลังมากที่สุดสำหรับเรา ถ้าถามถึงอนาคตเราเองก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน
มีคนเคยถามว่าแล้วถ้าวันหนึ่งโลกของเราไม่มีดอกไม้ล่ะจะทำอย่างไร เราก็เลยตอบไปว่าอาจจะใช้กระบวนการ
ที่ค้นหาดอกไม้ขึ้นมาใหม่ผ่านการทำงานศิลปะขึ้นมาก็ได้ เราไม่รู้ว่าในอนาคตดอกไม้เหล่านี้จะมีหรือไม่มี แต่กระบวนการที่เราพยายามจะสร้างมันขึ้นมาผ่านงานศิลปะก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เราทำได้เหมือนกัน แปลว่าต่อให้ดอกไม้
จะมีอยู่จริงหรือไม่ มันก็จะเกิดขึ้นได้ผ่านกระบวนการที่เราต้องการนำเสนอผ่านงานศิลปะได้อยู่ดี”

“ตราบใดที่โลกยังมีดอกไม้ ดอกไม้จะคงอยู่ในงานของเราตลอดไป”

 

แรงบันดาลใจ ในการเลือกดอกไม้เป็นสื่อกลางผ่านงานศิลปะ

          จากผลงานและความตั้งใจที่จะถ่ายทอดเรื่องราวความหลากหลายทางเพศที่ผ่านมาของคุณบอลเชื่อว่า
วันนี้ดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์แทนความรู้สึกได้เข้าไปเบ่งบานในใจของผู้ที่ได้มาสัมผัสภาพถ่ายของคุณบอลอย่างแน่นอน และเมื่อถามคุณบอลว่าอนาคตจะมีการใช้สัญลักษณ์อย่างอื่นมาทดแทนดอกไม้หรือไม่? ก็ได้รับคำตอบว่า “ณ ปัจจุบันนี้ดอกไม้ยังคงเป็นสิ่งที่ทรงพลังมากที่สุดสำหรับเรา ถ้าถามถึงอนาคตเราเองก็ไม่แน่ใจเหมือนกันมีคนเคยถามว่าแล้วถ้าวันหนึ่งโลกของเราไม่มีดอกไม้ล่ะจะทำอย่างไร เราก็เลยตอบไปว่าอาจจะใช้กระบวนการที่ค้นหาดอกไม้ขึ้นมาใหม่ผ่านการทำงานศิลปะขึ้นมาก็ได้ เราไม่รู้ว่าในอนาคตดอกไม้เหล่านี้จะมีหรือไม่มี แต่กระบวนการที่เราพยายามจะสร้างมันขึ้นมาผ่านงานศิลปะก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เราทำได้เหมือนกัน แปลว่าต่อให้ดอกไม้จะมีอยู่จริงหรือไม่ มันก็จะเกิดขึ้นได้ผ่านกระบวนการที่เราต้องการนำเสนอผ่านงานศิลปะได้อยู่ดี”

“ตราบใดที่โลกยังมีดอกไม้ ดอกไม้จะคงอยู่ในงานของเราตลอดไป”

ความภาคภูมิใจในฐานะศิลปิน LGBTQIA+

          ตอนนี้บอลยังทำงานประจำเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต แต่ยังหาเวลาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อจรรโลงสังคม เยียวยาผู้คนในสังคมในฐานะศิลปิน LGBTQIA+ เขามีความฝันและความหวังว่าวันหนึ่งงานศิลปะที่เขาสร้างเอาไว้ จะเป็นตัวกลางและทำให้การถามคำถามเกี่ยวกับเพศสภาพนั้นหมดไป วันที่ผู้คนสามารถพูดออกมาได้อย่างภาคภูมิใจว่า
ตัวเองเป็นเพศอะไรได้โดยที่สังคมไม่พยายามมาบีบบังคับ วันที่มนุษย์ทุกคนสามารถหยิบใช้สิ่งของสีม่วงได้โดยไม่ถูกล้อเลียนเรื่องเพศสภาพ หรือแม้แต่วันที่เพศทุกเพศมีสิทธิในการดำรงชีพได้อย่างเท่าเทียมกันเพื่อทำให้ผู้คนสามารถเป็นตัวของตัวเองได้อย่างภาคภูมิใจ และไม่จำเป็นต้องหลบซ่อนมันเอาไว้เป็นสิบปีอย่างที่ตัวผมเคยเผชิญ

          “นอกจากการทำงานศิลปะทำให้เรากล้าที่จะเป็นตัวของตัวเองแล้ว ผลงานศิลปะของเราที่ถูกเผยแพร่ออกไปนั้น มันทำให้สิ่งที่เราอยากบอกเล่าผ่านผลงานออกไปสู่ผู้คนหลากหลายกลุ่มทำให้ทุกคนเข้าใจปัญหาของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น และเราก็ยังคาดหวังว่าในอนาคต คนรุ่นต่อไปจะทำให้เรื่องของเพศสภาพเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจและไม่ต้องปิดบังอย่างที่เราเคยเผชิญ หากเราเรียนรู้ที่จะเข้าใจความหลากหลายตั้งแต่ตอนนี้ ในอนาคตผู้คนจะเรียนรู้ว่าเรื่องของเพศสภาพเป็นเรื่องปกติและไม่มีความจำเป็นต้องนำมันมาใช้แบ่งแยกมนุษย์ด้วยกันเอง ถามว่าอะไรคือความภูมิใจในฐานะศิลปิน LGBTQIA+ ที่ได้มีโอกาสสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อให้ผู้คนได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศในสังคมมากขึ้น สำหรับเราคิดว่า คือการที่มีคนมาเสพผลงานของเราและเขาได้รับพลัง กำลังใจ จนมีความกล้าต่อสู้กับความกลัว ยอมรับว่าอะไรคือสิ่ง
ที่เขารักและอยากที่จะเป็นมากที่สุดจนสามารถเเป็นตัวของตัวเองได้อย่างมีความสุข เราก็ภาคภูมิใจและถือว่าประสบความสำเร็จในฐานะศิลปิน LGBTQIA+ แล้ว”

“ศิลปะไม่ใช่อาชีพหลักที่ทำเพื่อหารายได้ หากแต่เป็นความสุขที่ไม่มีวันสิ้นสุดเมื่อได้ใช้เวลาร่วมกัน”

ความภาคภูมิใจในฐานะศิลปิน LGBTQIA+

          ตอนนี้บอลยังทำงานประจำเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต แต่ยังหาเวลาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อจรรโลงสังคม เยียวยาผู้คนในสังคมในฐานะศิลปิน LGBTQIA+ เขามีความฝันและความหวังว่าวันหนึ่งงานศิลปะที่เขาสร้างเอาไว้ จะเป็นตัวกลางและทำให้การถามคำถามเกี่ยวกับเพศสภาพนั้นหมดไป วันที่ผู้คนสามารถพูดออกมาได้อย่างภาคภูมิใจว่าตัวเองเป็นเพศอะไรได้โดยที่สังคมไม่พยายามมาบีบบังคับ วันที่มนุษย์ทุกคนสามารถหยิบใช้สิ่งของสีม่วงได้โดยไม่ถูกล้อเลียนเรื่องเพศสภาพ หรือแม้แต่วันที่เพศทุกเพศมีสิทธิในการดำรงชีพได้อย่างเท่าเทียมกันเพื่อทำให้ผู้คนสามารถเป็นตัวของตัวเองได้อย่างภาคภูมิใจ และไม่จำเป็นต้องหลบซ่อนมันเอาไว้เป็นสิบปีอย่างที่ตัวผมเคยเผชิญ

          “นอกจากการทำงานศิลปะทำให้เรากล้าที่จะเป็นตัวของตัวเองแล้ว ผลงานศิลปะของเราที่ถูกเผยแพร่ออกไปนั้น มันทำให้สิ่งที่เราอยากบอกเล่าผ่านผลงานออกไปสู่ผู้คนหลากหลายกลุ่มทำให้ทุกคนเข้าใจปัญหาของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น และเราก็ยังคาดหวังว่าในอนาคต คนรุ่นต่อไปจะทำให้เรื่องของเพศสภาพเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจและไม่ต้องปิดบังอย่างที่เราเคยเผชิญ หากเราเรียนรู้ที่จะเข้าใจความหลากหลายตั้งแต่ตอนนี้ ในอนาคตผู้คนจะเรียนรู้ว่าเรื่องของเพศสภาพเป็นเรื่องปกติและไม่มีความจำเป็นต้องนำมันมาใช้แบ่งแยกมนุษย์ด้วยกันเอง ถามว่าอะไรคือความภูมิใจในฐานะศิลปิน LGBTQIA+ ที่ได้มีโอกาสสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อให้ผู้คนได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศในสังคมมากขึ้น สำหรับเราคิดว่า คือการที่มีคนมาเสพผลงานของเราและเขาได้รับพลัง กำลังใจ จนมีความกล้าต่อสู้กับความกลัว ยอมรับว่าอะไรคือสิ่งที่เขารักและอยากที่จะเป็นมากที่สุดจนสามารถเเป็นตัวของตัวเองได้อย่างมีความสุข เราก็ภาคภูมิใจและถือว่าประสบความสำเร็จในฐานะศิลปิน LGBTQIA+ แล้ว”

“ศิลปะไม่ใช่อาชีพหลักที่ทำเพื่อหารายได้ หากแต่เป็นความสุขที่ไม่มีวันสิ้นสุดเมื่อได้ใช้เวลาร่วมกัน”

ความท้าทายใหม่ในฐานะศิลปิน LGBTQIA+ ในประเทศไทย

          ในเดือนมิถุนายนถือเป็น Pride Month เดือนแห่งสีสันและความภาคภูมิใจของกลุ่ม LGBTQIA+ บอลได้มีโอกาสร่วมสร้างสรรค์ผลงานกับศิลปินรุ่นใหม่ที่เป็นศิลปิน LGBTQIA+ และศิลปินเพศตรง ในงานนิทรรศการศิลปะ Pride Month Pride of all Genders ความภาคภูมิใจของทุกเพศอย่างเท่าเทียม ที่จัดโดยมูลนิธิเอสซีจี ณ ห้อง
New Gen Space Space For All Generations โดย มูลนิธิเอสซีจี ชั้น 3 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC ) ตั้งแต่วันนี้ – 3 กรกฎาคม 2565 เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยความเสมอภาค และเท่าเทียม

          “ในงานนี้เราได้สร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาใหม่ที่ยังไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อนที่มีชื่อผลงานว่าHydrilla เป็นงานศิลปะแบบจัดวาง โดยได้นำพืชมาเป็นตัวหลักในการเล่าเรื่องจึงได้มีการเก็บรวบรวมสาหร่ายหางกระรอกจากหลายภูมิภาคในประเทศไทยมาจัดวางในตู้ปลาในที่เดียวกัน เพราะสาหร่ายหางกระรอก เป็นพืชที่มีทั้งเป็นต้นแยกเพศและต้นที่มีทั้งสองเพศจึงถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์แทนเพศทางเลือกเพื่อสะท้อนให้ทุกคนได้มองเห็นว่า ไม่ว่า
คุณจะมาจากภูมิภาคไหน พื้นที่ถิ่นฐานใด หรือเป็นเพศอะไร ก็สามารถอยู่ร่วมกัน ดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความสุขได้ในสังคม อยากฝากให้ทุกคนไปติดตามชมกันจะได้ประจักษ์ถึงความงดงามและอัตลักษณ์ของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ”

“เพศสภาพเป็นเรื่องปกติและไม่มีความจำเป็นต้องนำมันมาใช้แบ่งแยกมนุษย์ด้วยกันเอง”

ความท้าทายใหม่ในฐานะศิลปิน LGBTQIA+ ในประเทศไทย

          ในเดือนมิถุนายนถือเป็น Pride Month เดือนแห่งสีสันและความภาคภูมิใจของกลุ่ม LGBTQIA+ บอลได้มีโอกาสร่วมสร้างสรรค์ผลงานกับศิลปินรุ่นใหม่ที่เป็นศิลปิน LGBTQIA+ และศิลปินเพศตรง ในงานนิทรรศการศิลปะ Pride Month Pride of all Genders ความภาคภูมิใจของทุกเพศอย่างเท่าเทียม ที่จัดโดยมูลนิธิเอสซีจี ณ ห้อง New Gen Space Space For All Generations โดย มูลนิธิเอสซีจี ชั้น 3 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC ) ตั้งแต่วันนี้ – 3 กรกฎาคม 2565 เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยความเสมอภาค และเท่าเทียม

          “ในงานนี้เราได้สร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาใหม่ที่ยังไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อนที่มีชื่อผลงานว่าHydrilla เป็นงานศิลปะแบบจัดวาง โดยได้นำพืชมาเป็นตัวหลักในการเล่าเรื่องจึงได้มีการเก็บรวบรวมสาหร่ายหางกระรอกจากหลายภูมิภาคในประเทศไทยมาจัดวางในตู้ปลาในที่เดียวกัน เพราะสาหร่ายหางกระรอก เป็นพืชที่มีทั้งเป็นต้นแยกเพศและต้นที่มีทั้งสองเพศจึงถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์แทนเพศทางเลือกเพื่อสะท้อนให้ทุกคนได้มองเห็นว่า ไม่ว่าคุณจะมาจากภูมิภาคไหน พื้นที่ถิ่นฐานใด หรือเป็นเพศอะไร ก็สามารถอยู่ร่วมกัน ดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความสุขได้ในสังคม อยากฝากให้ทุกคนไปติดตามชมกันจะได้ประจักษ์ถึงความงดงามและอัตลักษณ์ของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ”

“เพศสภาพเป็นเรื่องปกติและไม่มีความจำเป็นต้องนำมันมาใช้แบ่งแยกมนุษย์ด้วยกันเอง”

ขอบคุณภาพจาก : a day