เติมฝัน ปันสุข
นายวิษณ์กมล ชัยวานิชศิริ (โก้)
อาจารย์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นักประพันธ์เพลง และ วาทยกร
เจ้าของรางวัลยอดเยียม โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย โดย มูลนิธิเอสซีจี
สาขาการประพันธ์ดนตรี โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย ประจำปี 2559
จากในอดีต เขาเป็นเพียงเด็กหนุ่มมัธยมต้น
ที่ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่และสนใจในกิจกรรมสร้างทักษะหลังเลิกเรียน จนวันหนึ่ง
ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นสมาชิกวงโยธวาทิตของโรงเรียนและฝึกซ้อมเรื่อยมา
ซึ่งตอนนั้น เลือกทำเพราะชอบโดยไม่เคยคาดคิดว่าสิ่งที่ชอบจะเปลี่ยนเป็นอาชีพเลี้ยงดูตัวเองได้ในปัจจุบัน
นายวิษณ์กมล ชัยวานิชศิริ (โก้)
เชื่อได้ว่า คนส่วนใหญ่ล้วนมีงานอดิเรก หรือ กิจกรรมยามว่างให้ทำตามความชื่นชอบ ความถนัด
ของแต่ละบุคคล ซึ่งงานอดิเรกนั้นเกิดจากมาจากความชอบ ทำโดยไม่มีแรงกดดัน สร้างความเพลิดเพลิน
และเติมพลังใจให้ตัวเองในช่วงเวลาที่เครียด ๆ ได้
เช่นเดียวกับ วิษณ์กมล ชัยวานิชศิริ หรือ โก้ ที่ชื่นชอบการทำกิจกรรมยามว่างมาตั้งแต่เด็ก อย่างการเข้าร่วมเป็นสมาชิกวงโยธวาทิตโรงเรียนก็เช่นกัน ซึ่งเดิมที เขาไม่เคยคิดว่าการได้ทำในสิ่งที่รัก มีความสุขกับสิ่งที่ชอบ
จะนำมาเป็นอาชีพได้ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป ใจผูกพันและตระหนักเห็นคุณค่าในสิ่งที่ทำ สุดท้าย มันได้กลายเป็นอาชีพที่สร้างทั้งรายได้หลัก และรายได้เสริม อย่างการเป็นอาจารย์ด้านดนตรีสากล เป็นวาทยกร และนักประพันธ์เพลง ที่ได้กล่อมเกลาให้เขากลายเป็นหนุ่มมากความสามารถและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในปัจจุบัน
จุดเริ่มต้นของการ ‘รักเสียงดนตรี’ และ ‘แบ่งปันความรู้’ มาจากการเป็นสมาชิกวงโยธวาทิต
“ผมโชคดีตรงที่ครอบครัวของผมสนับสนุนการลงเรียนคอร์สต่าง ๆ มาตั้งแต่เด็ก เช่น การลงคอร์สเรียนเปียโน, ลงคอร์สโปรแกรมเรียนคอมพิวเตอร์ จึงทำให้ผมติดนิสัยรักการทำกิจกรรมและแสวงหาการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ อยู่เสมอ ฉะนั้น พอเข้าสู่ช่วงมัธยมต้น ผมจึงเลือกเข้าร่วมเป็นสมาชิกวงโยธวาทิต ซึ่งเป็นกิจกรรมเสริมทักษะ
หลังเลิกเรียนครับ”
ในตอนนั้น โก้รู้แค่ว่าชอบจึงอยากลอง แต่ด้วยระยะเวลาที่ได้คลุกคลีอยู่กับวงโยธวาทิต ตั้งแต่ม.ต้น
จนม.ปลาย มันกลายเป็นความผูกพันทั้งกับเพื่อนร่วมวง และการเห็นคุณค่าในการอยู่วงโยธวาทิต เพราะเขาได้เรียนรู้หลายอย่าง ทั้ง การจัดการบริหารยามอยู่กับคนหมู่มาก การรู้จักการวางแผน ตลอดจน การสร้างวินัยให้ตัวเอง และเป็นคนมีความรับผิดชอบมากขึ้น พอเขาตระหนักรู้ถึงข้อดี และหลงใหลในเสียงดนตรีบรรเลง ช่วงม.5
เขาฝึกซ้อมและขวนขวายหาความรู้อย่างจริงจัง เพราะรู้แน่ชัดแล้วว่า เขาจะเลือกเส้นทางชีวิตบนเส้นทางสายนี้
และยึดมันเป็นอาชีพให้ได้ เขาจึงเริ่มวางแผนและศึกษาข้อมูลเพื่อที่จะเข้าเรียนยังมหาวิทยาลัยด้านดนตรีโดยเฉพาะ แต่ทว่า เขาเองก็รู้ตัวว่าไม่ถนัดด้านการเล่นดนตรีนัก แต่สนุกกับการได้เขียนและแต่งเพลง การอำนวยเพลง
ให้วงต่าง ๆ ตลอดจนมีความสุขกับการให้วิชา มอบความรู้แก่รุ่นน้องมากกว่า ดังนั้น เขาจึงตัดสินใจเลือกสาขา
การประพันธ์ดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสอบติดเป็นลำดับต่อมา
เชื่อได้ว่า คนส่วนใหญ่ล้วนมีงานอดิเรก หรือ กิจกรรมยามว่างให้ทำตามความชื่นชอบ ความถนัดของแต่ละบุคคล ซึ่งงานอดิเรกนั้นเกิดจากมาจากความชอบ ทำโดยไม่มีแรงกดดัน สร้างความเพลิดเพลินและเติมพลังใจให้ตัวเองในช่วงเวลาที่เครียด ๆ ได้
เช่นเดียวกับ วิษณ์กมล ชัยวานิชศิริ หรือ โก้ ที่ชื่นชอบการทำกิจกรรมยามว่างมาตั้งแต่เด็ก อย่าง การเข้าร่วมเป็นสมาชิกวงโยธวาทิตโรงเรียนก็เช่นกัน ซึ่งเดิมที เขาไม่เคยคิดว่าการได้ทำในสิ่งที่รัก มีความสุขกับสิ่งที่ชอบจะนำมาเป็นอาชีพได้ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป ใจผูกพันและตระหนักเห็นคุณค่าในสิ่งที่ทำ สุดท้าย มันได้กลายเป็นอาชีพที่สร้างทั้งรายได้หลัก และรายได้เสริม อย่างการเป็นอาจารย์ด้านดนตรีสากล เป็นวาทยกร และนักประพันธ์เพลง ที่ได้กล่อมเกลาให้เขากลายเป็นหนุ่มมากความสามารถและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในปัจจุบัน
จุดเริ่มต้นของการ ‘รักเสียงดนตรี’ และ ‘แบ่งปันความรู้’ มาจากการเป็นสมาชิกวงโยธวาทิต
“ผมโชคดีตรงที่ครอบครัวของผมสนับสนุนการลงเรียนคอร์สต่าง ๆ มาตั้งแต่เด็ก เช่น การลงคอร์สเรียนเปียโน, ลงคอร์สโปรแกรมเรียนคอมพิวเตอร์ จึงทำให้ผมติดนิสัยรักการทำกิจกรรมและแสวงหาการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ อยู่เสมอ ฉะนั้น พอเข้าสู่ช่วงมัธยมต้น ผมจึงเลือกเข้าร่วมเป็นสมาชิกวงโยธวาทิต ซึ่งเป็นกิจกรรมเสริมทักษะหลังเลิกเรียนครับ”
ในตอนนั้น โก้รู้แค่ว่าชอบจึงอยากลอง แต่ด้วยระยะเวลาที่ได้คลุกคลีอยู่กับวงโยธวาทิต ตั้งแต่ม.ต้นจนม.ปลาย มันกลายเป็นความผูกพันทั้งกับเพื่อนร่วมวง และการเห็นคุณค่าในการอยู่วงโยธวาทิต เพราะเขาได้เรียนรู้หลายอย่าง ทั้ง การจัดการบริหารยามอยู่กับคนหมู่มาก การรู้จักการวางแผน ตลอดจน การสร้างวินัยให้ตัวเอง และเป็นคนมีความรับผิดชอบมากขึ้น พอเขาตระหนักรู้ถึงข้อดี และหลงใหลในเสียงดนตรีบรรเลง ช่วงม.5 เขาฝึกซ้อมและขวนขวายหาความรู้อย่างจริงจัง เพราะรู้แน่ชัดแล้วว่า เขาจะเลือกเส้นทางชีวิตบนเส้นทางสายนี้และยึดมันเป็นอาชีพให้ได้ เขาจึงเริ่มวางแผนและศึกษาข้อมูลเพื่อที่จะเข้าเรียนยังมหาวิทยาลัยด้านดนตรีโดยเฉพาะ แต่ทว่า เขาเองก็รู้ตัวว่าไม่ถนัดด้านการเล่นดนตรีนัก แต่สนุกกับการได้เขียนและแต่งเพลง การอำนวยเพลงให้วงต่าง ๆ ตลอดจนมีความสุขกับการให้วิชา มอบความรู้แก่รุ่นน้องมากกว่า ดังนั้น เขาจึงตัดสินใจเลือกสาขาการประพันธ์ดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสอบติดเป็นลำดับต่อมา
“พอมองย้อนกลับไป มันทำให้ผมรู้ว่า กิจกรรมหลังเลิกเรียน หรือ งานอดิเรกสำคัญมากทีเดียว
มันจุดประกายความคิดให้เราค้นพบความชอบของตัวเองที่แท้จริงและสามารถวางแผนชีวิตให้มันกลายเป็นอาชีพ
ให้เราได้ด้วย”
“พอมองย้อนกลับไป มันทำให้ผมรู้ว่า กิจกรรมหลังเลิกเรียน หรือ งานอดิเรกสำคัญมากทีเดียว มันจุดประกายความคิดให้เราค้นพบความชอบของตัวเองที่แท้จริงและสามารถวางแผนชีวิตให้มันกลายเป็นอาชีพให้เราได้ด้วย”
เพราะเป็น 'เด็กกิจกรรม' จึงเลือกส่งผลงานเข้าร่วมประกวดโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย ของมูลนิธิเอสซีจี
พอเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัย โก้ยังคงเป็นหนุ่มรักกิจกรรมเช่นเคย เขาเสาะหากิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจ
ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การลองเข้าร่วมโครงการประกวดยุวศิลปินไทย สาขาการประพันธ์ดนตรี โดย มูลนิธิเอสซีจี
“แม้ผมจะไม่ใช่แฟนตัวยงด้านสายประกวดเท่าไหร่ แต่การที่ผมเลือกเข้าร่วมประกวดโครงการนี้ เพราะ
ครั้งหนึ่งเคยมีโอกาสไปดูบรรยากาศการตัดสินรอบสุดท้าย ซึ่งจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบกับเห็นรุ่นน้อง รุ่นพี่ที่เรียนสายนี้หลายคนส่งผลงานเข้าร่วมโครงการนี้กันเยอะมาก มันเลยทำให้ผมมีไฟและแรงบันดาลใจ
อยากลองส่งบ้าง ซึ่งผมดีใจที่ตัดสินใจร่วมส่งผลงานครั้งนั้น เพราะผมได้รับรางวัลยอดเยี่ยม สาขาการประพันธ์ดนตรี อีกทั้ง ยังได้มีโอกาสไปทัศนศึกษาที่ประเทศเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศส ได้ไปดูพิพิธภัณฑ์ศิลปะต่าง ๆ
และได้ไปดูงาน Documenta งานแสดงศิลปะสมัยใหม่และศิลปะร่วมสมัยที่สำคัญที่สุดงานหนึ่งของโลก จากนิสัยส่วนตัวที่ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่แล้ว พอไปทัศนศึกษาที่ต่างประเทศครั้งนั้น จึงทำให้ผมเปิดโลก และได้ประสบการณ์ในชีวิตที่ดีมาก ๆ ครับ”
พอเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัย โก้ยังคงเป็นหนุ่มรักกิจกรรมเช่นเคย เขาเสาะหากิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การลองเข้าร่วมโครงการประกวดยุวศิลปินไทย สาขาการประพันธ์ดนตรี โดย มูลนิธิเอสซีจี
“แม้ผมจะไม่ใช่แฟนตัวยงด้านสายประกวดเท่าไหร่ แต่การที่ผมเลือกเข้าร่วมประกวดโครงการนี้ เพราะครั้งหนึ่งเคยมีโอกาสไปดูบรรยากาศการตัดสินรอบสุดท้าย ซึ่งจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบกับเห็นรุ่นน้อง รุ่นพี่ที่เรียนสายนี้หลายคนส่งผลงานเข้าร่วมโครงการนี้กันเยอะมาก มันเลยทำให้ผมมีไฟและแรงบันดาลใจอยากลองส่งบ้าง ซึ่งผมดีใจที่ตัดสินใจร่วมส่งผลงานครั้งนั้น เพราะผมได้รับรางวัลยอดเยี่ยม สาขาการประพันธ์ดนตรี อีกทั้ง ยังได้มีโอกาสไปทัศนศึกษาที่ประเทศเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศส ได้ไปดูพิพิธภัณฑ์ศิลปะต่าง ๆ และได้ไปดูงาน Documenta งานแสดงศิลปะสมัยใหม่และศิลปะร่วมสมัยที่สำคัญที่สุดงานหนึ่งของโลก จากนิสัยส่วนตัวที่ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่แล้ว พอไปทัศนศึกษาที่ต่างประเทศครั้งนั้น จึงทำให้ผมเปิดโลก และได้ประสบการณ์ในชีวิตที่ดีมาก ๆ ครับ”
ข้อดีของการชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ คือ การมีความรู้แบบกว้าง ตามฉบับ Generalist
“จากมุมมองส่วนตัวผมเชื่อว่า การเป็น Specialist หรือคนที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ
ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยุคนี้การเป็น Generalist หรือมีความรู้เชิงกว้าง ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นไม่แพ้กัน เพราะมันสามารถช่วยให้เราปรับตัว
“จากมุมมองส่วนตัวผมเชื่อว่า การเป็น Specialist หรือคนที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยุคนี้การเป็น Generalist หรือมีความรู้เชิงกว้าง ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นไม่แพ้กัน เพราะมันสามารถช่วยให้เราปรับตัว
3 บทบาท ด้านดนตรีสากล หลอมรวมกัน เป็นเขาในทุกวันนี้
ในปัจจุบัน โก้ ถือเป็นหนุ่มที่มีความสามารถรอบด้าน เพราะเขามีหลายบทบาทที่ทำอยู่ไปพร้อม ๆ กัน ทั้ง
การทำอาชีพหลัก อย่างการเป็นอาจารย์ด้านดนตรีสากลที่มหาวิทยาลัยมหิดล และอาชีพเสริมคือ วาทยากร
และ นักประพันธ์เพลง ซึ่งเขาไม่สามารถตัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกไปจากชีวิตได้เลย เพราะ 3 บทบาทนี้หลอมรวมให้ชีวิตเขากลมกล่อมลงตัวที่สุดแล้ว
“ผมมีความสุข กับทุกบทบาทที่ทำอยู่ อย่างการเป็นอาจารย์ ผมรู้สึกดีที่ได้แบ่งปันความรู้ให้แก่เด็ก ๆ
และได้เห็นพัฒนาการของเขาที่มีการเติบโตมากขึ้น ส่วนการอำนวยเพลง หรือ การเป็นวาทยกร ผมมองว่า
มันเป็นความท้าทายตรงที่ผมต้องรับผิดชอบวงดนตรีในด้านการบรรเลงทั้งหมด ซึ่งผมจะต้องหาวิธีในการควบคุมและโน้มน้าวใจคนหมู่มากที่ต่างความคิดกันอย่างไรให้มาอยู่ภายใต้สิ่งที่เรากำกับเพียงหนึ่งเดียว
ส่วนสุดท้าย ในเรื่องของการประพันธ์เพลง ผมมีความสุขที่ได้สร้างสรรค์ท่วงทำนองออกมา ผมมองว่า
การประพันธ์เพลงมันมีเสน่ห์ตรงที่การถ่ายทอดความรู้สึกแบบนามธรรมไปสู่ผู้ฟัง ที่แต่ละคนอาจรับฟังดนตรีไ
ปตามแต่ประสบการณ์ของแต่ละคน อย่างเช่น หากผมประพันธ์เพลงด้วยท่วงทำนองสนุกสนาน ร่าเริง แต่บางคน
ที่รับฟัง เขาอาจรู้สึกถึงความเกรี้ยวกราด รุนแรง ในบทเพลงก็ได้ ซึ่งมันคือ เส่นห์และความซับซ้อนของดนตรีบรรเลงนี้ครับ โดยผลงานเพลงของผมส่วนใหญ่ มักได้แรงบันดาลใจมาจาก การดูสถาปัตยกรรม วรรณกรรม
รวมถึงจิตรกรรม อย่างเช่น เพลงโหมโรงรัตนโกสินทร์ ผมได้แรงบันดาลใจมาจากการอ่านนวนิยายอิง
ประวัติศาสตร์ รัตนโกสินทร์ ของ ‘ว.วินิจฉัยกุล’ ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น”
ในปัจจุบัน โก้ ถือเป็นหนุ่มที่มีความสามารถรอบด้าน เพราะเขามีหลายบทบาทที่ทำอยู่ไปพร้อม ๆ กัน ทั้ง การทำอาชีพหลัก อย่างการเป็นอาจารย์ด้านดนตรีสากลที่มหาวิทยาลัยมหิดล และอาชีพเสริมคือ วาทยากร และ นักประพันธ์เพลง ซึ่งเขาไม่สามารถตัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกไปจากชีวิตได้เลย เพราะ 3 บทบาทนี้หลอมรวมให้ชีวิตเขากลมกล่อมลงตัวที่สุดแล้ว
“ผมมีความสุข กับทุกบทบาทที่ทำอยู่ อย่างการเป็นอาจารย์ ผมรู้สึกดีที่ได้แบ่งปันความรู้ให้แก่เด็ก ๆ และได้เห็นพัฒนาการของเขาที่มีการเติบโตมากขึ้น ส่วนการอำนวยเพลง หรือ การเป็นวาทยกร ผมมองว่ามันเป็นความท้าทายตรงที่ผมต้องรับผิดชอบวงดนตรีในด้านการบรรเลงทั้งหมด ซึ่งผมจะต้องหาวิธีในการควบคุมและโน้มน้าวใจคนหมู่มากที่ต่างความคิดกันอย่างไรให้มาอยู่ภายใต้สิ่งที่เรากำกับเพียงหนึ่งเดียว
ส่วนสุดท้าย ในเรื่องของการประพันธ์เพลง ผมมีความสุขที่ได้สร้างสรรค์ท่วงทำนองออกมา ผมมองว่า การประพันธ์เพลงมันมีเสน่ห์ตรงที่การถ่ายทอดความรู้สึกแบบนามธรรมไปสู่ผู้ฟัง ที่แต่ละคนอาจรับฟังดนตรีไปตามแต่ประสบการณ์ของแต่ละคน อย่างเช่น หากผมประพันธ์เพลงด้วยท่วงทำนองสนุกสนาน ร่าเริง แต่บางคนที่รับฟัง เขาอาจรู้สึกถึงความเกรี้ยวกราด รุนแรง ในบทเพลงก็ได้ ซึ่งมันคือ เส่นห์และความซับซ้อนของดนตรีบรรเลงนี้ครับ โดยผลงานเพลงของผมส่วนใหญ่ มักได้แรงบันดาลใจมาจาก การดูสถาปัตยกรรม วรรณกรรม รวมถึงจิตรกรรม อย่างเช่น เพลงโหมโรงรัตนโกสินทร์ ผมได้แรงบันดาลใจมาจากการอ่านนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ รัตนโกสินทร์ ของ ‘ว.วินิจฉัยกุล’ ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น”
พาตัวเองไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีโอกาสสำเร็จไปอีกขั้น
จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เขาตระหนักรู้ว่าสิ่งหนึ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้เขาได้รับโอกาสดี ๆ นั่นคือ การพาตัวเองมาอยู่ในสังคมที่ดี มีคุณภาพ รายล้อมไปด้วยเพื่อน รุ่นพี่ และครอบครัวที่ดี พร้อมให้คำปรึกษา และสนับสนุนเต็มที่ แต่ถ้าใครที่ไม่มีโอกาสจะพาตัวเองไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีได้ เขาเชื่อว่า เราสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีนั้นขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง ผ่านการไปสถานที่ที่ดี คัดสรรสิ่งที่อ่าน เลือกผู้คนที่เราคบ เพราะการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีจะเอื้อให้เราพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่และมีโอกาสสำเร็จได้มากขึ้น
จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เขาตระหนักรู้ว่าสิ่งหนึ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้เขาได้รับโอกาสดี ๆ นั่นคือ การพาตัวเองมาอยู่ในสังคมที่ดี มีคุณภาพ รายล้อมไปด้วยเพื่อน รุ่นพี่ และครอบครัวที่ดี พร้อมให้คำปรึกษา และสนับสนุนเต็มที่ แต่ถ้าใครที่ไม่มีโอกาสจะพาตัวเองไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีได้ เขาเชื่อว่า เราสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีนั้นขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง ผ่านการไปสถานที่ที่ดี คัดสรรสิ่งที่อ่าน เลือกผู้คนที่เราคบ เพราะการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีจะเอื้อให้เราพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่และมีโอกาสสำเร็จได้มากขึ้น
เรียนรู้อย่างอยู่รอด ด้วยการ 'มีวินัย 'ใฝ่เรียนรู้' 'ลดอัตตา ละตัวตน'
“โดยส่วนตัว สิ่งที่ทำให้อยู่รอดในปัจจุบัน และเป็นสิ่งที่ผมยึดถือมาโดยตลอด นั่นคือ การมีวินัย ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่ว่าผมจะทำอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม ผมจะตั้งค่าเป็นกิจวัตรประจำวัน อย่างเช่น ถ้าผมต้องการประพันธ์เพลงในความยาว 8 นาที ผมจะแจกแจงชัดเจนว่าในแต่ละวัน ผมต้องประพันธ์เพลงไปกี่วินาที ผมจะค่อย ๆ ทำไปตามตารางที่กำหนด ผมจะไม่เทหมดหน้าตัก เพราะโดยส่วนตัวการทุ่มเกิน 100% อาจทำให้หมดไฟได้ง่ายด้วย ส่วนต่อมา คือ การศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเพื่อนำมาพัฒนาตัวเองให้เป็นคนที่มีศักยภาพและมีโอกาสต่อยอด
ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้ และสิ่งสุดท้ายเป็นอีกปัจจัยสำคัญ คือ การลดอีโก้ในตัวเอง มีความถ่อมตน ถึงแม้ว่าหนึ่งในบทบาท ผมจะเป็นอาจารย์ แต่ขณะเดียวกัน หากเด็กที่ผมสอนเขาเก่งอะไรเป็นพิเศษ ผมจะเข้าไปขอความรู้
แก่เด็ก ๆ โดยไม่รีรอ เพราะผมเชื่อว่า การลดอัตตาในตัวเอง ไม่คิดว่าตัวเก่งที่สุดหรือรู้ทุกอย่างมันจะเปิดโอกาส
ให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และยังสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อคนรอบข้างด้วยครับ”
“โดยส่วนตัว สิ่งที่ทำให้อยู่รอดในปัจจุบัน และเป็นสิ่งที่ผมยึดถือมาโดยตลอด นั่นคือ การมีวินัย ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่ว่าผมจะทำอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม ผมจะตั้งค่าเป็นกิจวัตรประจำวัน อย่างเช่น ถ้าผมต้องการประพันธ์เพลงในความยาว 8 นาที ผมจะแจกแจงชัดเจนว่าในแต่ละวัน ผมต้องประพันธ์เพลงไปกี่วินาที ผมจะค่อย ๆ ทำไปตามตารางที่กำหนด ผมจะไม่เทหมดหน้าตัก เพราะโดยส่วนตัวการทุ่มเกิน 100% อาจทำให้หมดไฟได้ง่ายด้วย ส่วนต่อมา คือ การศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเพื่อนำมาพัฒนาตัวเองให้เป็นคนที่มีศักยภาพและมีโอกาสต่อยอดในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้ และสิ่งสุดท้ายเป็นอีกปัจจัยสำคัญ คือ การลดอีโก้ในตัวเอง มีความถ่อมตน ถึงแม้ว่าหนึ่งในบทบาท ผมจะเป็นอาจารย์ แต่ขณะเดียวกัน หากเด็กที่ผมสอนเขาเก่งอะไรเป็นพิเศษ ผมจะเข้าไปขอความรู้แก่เด็ก ๆ โดยไม่รีรอ เพราะผมเชื่อว่า การลดอัตตาในตัวเอง ไม่คิดว่าตัวเก่งที่สุดหรือรู้ทุกอย่างมันจะเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และยังสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อคนรอบข้างด้วยครับ”
ฝันใหญ่ได้ แต่ต้องลงมือทำ เพื่อจะได้เห็น 'ผลผลิตของความฝัน'
ท้ายนี้ โก้ยังคงเชื่อมั่นว่า ความฝัน จะเป็นแค่ความฝัน หากไม่ลงมือทำอะไรเลย ฉะนั้น ความฝันก็เปรียบเหมือนการปลูกต้นไม้ที่เราค่อย ๆ บ่มเพาะมันไปทีละนิดอย่างใจเย็น หมั่นรดน้ำพรวนดินอย่างสม่ำเสมอ และมีวินัยจริงจังในการดูแลรักษาผลผลิตของความฝัน ที่สำคัญ เราควรพาความฝันไปอยู่ในสถานที่ที่เอื้อต่อการเติบโตด้วยเช่นกัน และแม้ว่า ความฝัน อาจไม่สำเร็จในชั่วข้ามคืน แต่หากเราเชื่อมั่นในตัวเอง มุ่งมั่นบ่มเพาะความฝันอย่างเต็มที่ สักวันหนึ่งมันจะเติบใหญ่และสำเร็จได้
สำหรับผลงานที่โดดเด่น เป็นที่ประจักษ์ของคุณโก้ในปัจจุบัน นั่นคือ การเป็นเจ้าของผลงานเพลงมาร์ชเจ้าพระยา, เพลงโหมโรงรัตนโกสินทร์ , เพลงโหมโรงพระปรางค์สามยอด นอกจากนี้ เขายังคงพัฒนาต่อยอดสร้างผลงานใหม่ ๆอยู่เสมอ หากใครสนใจ สามารถเข้าไปดูประวัติและผลงานต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://viskamol.com และนี้คือคนต้นแบบที่เรียนรู้เพื่ออยู่รอด เปลี่ยนความชอบเป็นอาชีพจนประสบความสำเร็จในชีวิต